สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
Financial Health Check สำรวจสุขภาพกระเป๋าสตางค์ | วิเคราะห์ สภาพคล่อง ภาระหนี้สิน การออม การลงทุน
 
 

Financial Health Check สำรวจความมั่นคงของสินทรัพย์กับโรงพยาบาลการเงิน

ท่ามกลางวิกฤตการระบาดของโควิด19 ที่ส่งผลทำให้โรงพยาบาลทุกแห่งมีผู้ป่วยจนล้นเตียง ส่งผลทำให้ต้องมีการสร้างโรงพยาบาลสนามขึ้นมาดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการระบาดของไวรัสร้ายไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคนไทยเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบไปถึงสุขภาพทางการเงินของแต่ละครอบครัวอีกด้วย
ปกติแล้วเมื่อพูดถึงโรงพยาบาล หลายๆคนอาจจะนึกถึงโรงพยาบาลรักษาโรคทั่วๆไปที่คุ้นเคยกันดี แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงโรงพยาบาลที่ตรวจสุขภาพการเงินกัน เป็นการตรวจสุขภาพของกระเป๋าคู่ใจ ที่หลายๆคนอาจจะอยากให้มันเป็นโรคอ้วน เพราะจะได้มีแบงค์สีม่วงๆเทาๆเยอะๆไว้พกพาสำหรับกิจกรรมต่างๆในชีวิต ซึ่งช่วงนี้อาจจะต้องเป็นกิจกรรมการใช้จ่ายออนไลน์อยู่ในบ้านที่ไม่มีการติดต่อกับบุคคลภายนอก เพื่อที่เราจะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกันป้องกันโรคติดต่อโควิดให้ไม่ติดต่อ

            ในช่วงปกติแต่ละคนอาจจะไปโรงพยาบาลด้วยสาเหตุต่างๆกัน บางคนอาจไปด้วยอาการไม่สบายปัจจุบันทันด่วน เช่น ปวดหัว ตัวร้อน บางคนก็อาจจะไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจดูว่ามีโรคภัยไข้เจ็บที่ยังไม่แสดงอาการหรือเปล่า  ในขณะที่บางคนก็อาจจะไปเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่หรือไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น

การตรวจสุขภาพทางการเงินของแต่ละคนก็ไม่ต่างกับการเข้าโรงพยาบาลข้างต้นเลยครับ คนทุกเพศทุกวัยแต่ละคนควรจะต้องเข้าโรงพยาบาลหรือคลินิกการเงินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจเช็คดูว่าเราจะเป็นโรคช็อตเงินกะทันหันหรือไม่ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เกิดโรคทางกายมีอาการหัวใจวายตามมาทันที นอกจากนั้นก็ควรจะสำรวจดูว่าคุณมีโรคทางการเงินที่ยังไม่แสดงอาการอยู่ในกระเป๋าคู่ชีพหรือเปล่า นอกจากนั้นก็ควรจะมองกระจกอีกสักนิดว่าหุ่นของกระเป๋าเงินใบเก่ามีการออกกำลังสร้างความแข็งแรงเป็น Six Pack หรือยัง เราควรจะต้องมีการเล่นเวททางการเงินเป็นพิเศษหรือไม่

การตรวจโรคช็อตเงิน ก็คือการวิเคราะห์สภาพคล่องส่วนบุคคลนั่นเอง ซึ่งก็หมายถึงการพิจารณาว่าเราจะมีเงินใช้เพียงพอหรือไม่ ถ้าหากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ไม่ว่าจะเป็นการตกงาน หรือการเจ็บป่วยต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็จากเหตุการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ส่งผลทำให้กิจการร้านค้าต่างๆต้องหยุดดำเนินงาน มีผู้ตกงานเป็นจำนวนมาก และบางคนก็ยังเจ็บป่วยจากเจ้าเชื้อไวรัสร้ายต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลอีกด้วย ในทางการเงิน นักวางแผนการเงินมักจะทำการเปรียบเทียบว่าจำนวนเงินสดและเงินฝากในบัญชีประเภทต่างๆ รวมกันแล้วเป็นกี่เท่าของหนี้สินที่ต้องชำระคืนภายใน 1 ปี ซึ่งปกติแล้วอัตราส่วนดังกล่าวนี้ควรจะมากกว่า 1 เท่า หรืออาจจะดูว่าเงินสดและบัญชีเงินฝากที่มีอยู่เพียงพอที่จะใช้จ่ายได้สัก 3 – 6 เดือนหรือไม่ ถ้าหากเจ็บไข้ได้ป่วย หรือตกงานแล้วทำให้ไม่มีรายได้ ทั้งนี้หลังเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ก็มีนักวางแผนการเงินหลายคนได้ปรับการให้คำแนะนำว่าควรจะมีเงินสดและบัญชีเงินฝากเพียงพอที่จะใช้จ่ายในยามฉุกเฉินได้อย่างน้อย 1 ปี

นอกจากนั้นก็นักวางแผนการเงินก็มักแนะนำว่าแต่ละคนไม่ควรที่จะก่อหนี้เกินกว่า 50% ของทรัพย์สินที่มีอยู่รวมกันทั้งหมด เพราะอาจจะทำให้มีทรัพย์สินไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้สินเมื่อครบกำหนดในอนาคต ในบางกรณีอาจจะตรวจสอบดูว่าคุณมีการกู้หนี้ยืมสินมากเกินไปหรือยัง โดยอาจพิจารณาคร่าวๆจากอัตราส่วนระหว่างเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องชำระคืนในแต่ละเดือนกับเงินเดือน ถ้ามีการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นรวมแล้วต่ำกว่า 35% ของเงินเดือนแสดงว่าสุขภาพทางการเงินค่อนข้างแข็งแรง แต่ถ้ามีการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นรวมแล้วสูงกว่า 45% ของเงินเดือนบ่งบอกว่าคุณเริ่มมีการสร้างหนี้มากจนเกินไปแล้ว

สุดท้ายอย่าลืมเอาเงินของคุณไปเล่นฟิตเนสให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ถ้าจะให้ดีแล้วละก็ พยายามกันเงินเดือนทุกๆเดือนประมาณ 10% ไปทำงานต่อยอดความแข็งแรงของสถานะการเงินผ่านการออมและการลงทุน เช่น การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ การซื้อหุ้นสามัญ การซื้อกองทุนรวม เป็นต้น


Financial Health Check สำรวจสุขภาพกระเป๋าสตางค์ | วิเคราะห์ สภาพคล่อง ภาระหนี้สิน การออม การลงทุน

 

ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล

 


Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA)

ติดต่อ


      086-666-0090 , 082-701-7077 , 087-063-3306 
 

ขอบคุณทุกความไว้วางใจ ที่มีให้ ThaiPFA


#นักวางแผนการเงินCFP มาตรฐานสากลกับThaiPFA  #เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงินCFP มาตรฐานสากลโดยThaiPFA #ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบเพื่อความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน 
E-mail: thaipfa@gmail.com
Website: www.thaipfa.co.th  , www.thaipfaonline.com , www.allaboutfin.com
Social network: www.facebook.com/thaipfa
LINE: @thaipfa
Mobile: 086-666-0090 , 087-063-3306 ,082-701-7077

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA