สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
เจาะลึกต้นทุนดัชนีเวนคืน: เข้าใจง่าย ครบถ้วน คลายทุกข้อสงสัยจากตำราที่อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ โดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง
 




วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  ดัชนีต้นทุนเวนคืน (Surrender Cost Index) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการประเมินต้นทุนสุทธิของการทำประกันชีวิต โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้เอาประกันมีการยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบกำหนด เช่น ณ สิ้นปีที่ 10 หรือ 20 ของอายุกรมธรรม์ ดัชนีนี้ช่วยให้ผู้เอาประกันสามารถประเมินต้นทุนเฉลี่ยต่อปีสำหรับความคุ้มครองที่ได้รับ ทำให้สามารถเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างกรมธรรม์ที่มีช่วงเวลาการคุ้มครองที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้การคำนวณดัชนีต้นทุนเวนคืนคำนึงถึงแนวคิดมูลค่าของเงินตามเวลา (Time Value of Money) โดยพิจารณาว่ากระแสเงินสดที่เกิดขึ้นแต่ละปี เช่น เบี้ยประกัน หรือเงินปันผลที่อาจได้รับคืนในแต่ละปีอาจมีมูลค่าที่ต่างกันเมื่อคำนึงถึงต้นทุนค่าเสียโอกาส นอกจากนั้นแล้วการเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างกรมธรรม์ซึ่งอาจมีระยะเวลาที่ต่างกัน เช่น 10 ปี หรือ 20 ปี การแปลงต้นทุนรวมให้อยู่ในรูปแบบของต้นทุนเฉลี่ยต่อปีที่คำนึงถึงแนวคิดมูลค่าเงินตามเวลา จะช่วยให้เปรียบเทียบกรมธรรม์ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขั้นตอนการคำนวณดัชนีต้นทุนเวนคืนจึงต้องพิจารณาการเติบโตของเงินและผลตอบแทนในแต่ละปีดังนี้:

1. คำนวณมูลค่าสะสมของเบี้ยประกัน
การชำระเบี้ยประกันเป็นรายปี (หรือรายงวด) อาจทำให้ดูเหมือนว่าเราจ่ายเงินน้อย แต่เมื่อรวมทุกงวดและคิดถึงผลตอบแทนที่เงินสามารถสร้างได้ในอนาคต จะเห็นภาพรวมต้นทุนที่ชัดเจนขึ้น เบี้ยประกันที่จ่ายทุกปีจึงต้องนำไปคำนวณทบต้นเพื่อหามูลค่าอนาคต (Future Value) ณ สิ้นปีที่ต้องการพิจารณาเวนคืนกรมธรรม์ โดยใช้สูตรมูลค่าอนาคตของเงินงวดต้นงวด:

FVADเบี้ยประกัน = PMT × [(1+r)ⁿ - 1]/r × (1+r)


เมื่อกำหนดให้

  • วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  PMT คือเบี้ยประกันที่จ่ายในแต่ละปี

  • วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  r คืออัตราดอกเบี้ยหรือต้นทุนค่าเสียโอกาส

  • วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  n คือจำนวนปี


2. หักมูลค่าสะสมของเบี้ยประกันด้วยมูลค่าสะสมของผลประโยชน์
เงินคืนที่ได้รับระหว่างสัญญาในแต่ละงวดจะถูกแยกคำนวณทบต้นเพื่อหามูลค่าอนาคต(Future Value) ณ สิ้นปีที่ต้องการพิจารณาเวนคืนกรมธรรม์ แล้วนำมาหาผลรวมเพื่อหักออกจากมูลค่าสะสมของเบี้ยประกัน

3. หักมูลค่าเงินสด ณ สิ้นปีที่ต้องการเวนคืนหรือสิ้นสุดอายุกรมธรรม์ เพื่อคำนวณต้นทุนสุทธิ
มูลค่าเงินสดซึ่งเป็นเงินที่ผู้เอาประกันจะได้รับคืนเมื่อมีการเวนคืนกรมธรรม์ หรือจำนวนเงินที่ได้รับคืนทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดอายุกรมธรรม์จะต้องถูกนำไปหักออกจากต้นทุนรวมในขั้นตอนก่อนหน้า มูลค่าอนาคตของเบี้ยประกันหลังจากหักเงินคืนและมูลค่าเงินสดจึงจะเป็นต้นทุนสุทธิหรือต้นทุนที่แท้จริงที่ใช้สำหรับความคุ้มครองชีวิต

4. แปลงเป็นต้นทุนเฉลี่ยรายปี:
การแปลงต้นทุนสุทธิเพื่อเฉลี่ยเป็นรายปีจะไม่นำไปหารจำนวนปีตรงๆ เนื่องจากวิธีการหารด้วยจำนวนปีจะไม่ได้สะท้อนว่าค่าเบี้ยประกันที่จ่ายในช่วงต้น (เช่น ปีแรกๆ) สามารถนำไปลงทุนและสร้างผลตอบแทนได้ ซึ่งส่งผลให้ "ต้นทุนสุทธิที่แท้จริง" ต่ำกว่าที่คิดจากการหารตรงๆ ดังนั้นจะต้องนำต้นทุนสุทธิที่คำนวณได้หารด้วยตัวคูณมูลค่าเงินตามเวลา (Future Value Interest Factor of Annuity Due, FVIFADr,n) เพื่อเปลี่ยนให้เป็นต้นทุนต่อปีใน

ลักษณะของเงินงวดตามสูตรมูลค่าอนาคตของเงินงวดที่เกิดขึ้นทุกๆต้นงวดดังนี้:

FVAD = PMT × {[(1+r)ⁿ - 1]/r × (1+r)} = PMT × FVIFADr,n

 

ดัชนีต้นทุนเวนคืนต่อปีจึงสามารถคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้
 
 

 
5. แปลงเป็นต้นทุนต่อมาตรฐาน:
ผลลัพธ์จะถูกแปลงเป็นต้นทุนต่อ 1,000 บาทของจำนวนเงินเอาประกันภัย เพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ

6. การตีความผลลัพธ์ของดัชนีต้นทุนเวนคืน
หากค่าดัชนีต้นทุนเวนคืนที่คำนวณได้เป็นบวก หมายความว่าผู้เอาประกันต้องเสียต้นทุนเฉลี่ยต่อปีในจำนวนที่ระบุเพื่อความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ในทางตรงกันข้ามหากค่าดัชนีต้นทุนเวนคืนที่คำนวณได้เป็นลบ หมายความว่าผู้เอาประกันไม่เพียงแต่ไม่ต้องเสียต้นทุนสำหรับความคุ้มครอง แต่ยังได้ผลตอบแทนสุทธิจากกรมธรรม์อีกด้วย โดยผลตอบแทนนี้อาจมาจากมูลค่าเงินสดหรือผลตอบแทนที่สูงกว่าต้นทุนที่จ่ายไป
ดัชนีต้นทุนเวนคืนช่วยให้ผู้เอาประกันสามารถเปรียบเทียบต้นทุนสุทธิของกรมธรรม์ในช่วงเวลาต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ โดยคำนึงถึงมูลค่าเงินตามเวลา ผลตอบแทนจากเงินคืน และมูลค่าเงินสด การคำนวณดัชนีต้นทุนเวนคืนช่วยให้ผู้เอาประกันเห็นประโยชน์ของการถือครองกรมธรรม์ในระยะยาว และช่วยตัดสินใจเลือกกรมธรรม์ที่เหมาะสมกับความต้องการและสถานะทางการเงินของตน

ตัวอย่าง
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ระยะเวลา 20 ปี กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยไว้ที่ 100,000 บาท ผู้ถือกรมธรรม์จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยปีละ 8,600 บาท ณ ต้นปีต่อเนื่องตลอด 20 ปี กรมธรรม์มีเงื่อนไขการจ่ายเงินคืนทุก 2 ปี โดยแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงแรกในปีที่ 2, 4 และ 6 จะได้รับเงินคืนปีละ 4,000 บาท ช่วงที่สองในปีที่ 8, 10 และ 12 จะได้รับปีละ 5,000 บาท และช่วงที่สามในปีที่ 14, 16 และ 18 จะได้รับปีละ 6,000 บาท เมื่อครบกำหนดสัญญาในปีที่ 20 ผู้เอาประกันจะได้รับเงินก้อนสุดท้ายจำนวน 155,000 บาท พร้อมเงินปันผล 30,000 บาท

ในกรณีที่ถือกรมธรรม์จนครบสัญญา ผู้เอาประกันจะได้รับผลตอบแทนเต็มจำนวนตามที่ระบุ อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นต้องยกเลิกกรมธรรม์ ณ สิ้นปีที่ 10 จะได้รับมูลค่าเงินสดจากการเวนคืนจำนวน 54,300 บาท

เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบต้นทุนที่แท้จริงของการเลือกถือกรมธรรม์จนสิ้นสุดสัญญาหรือการเวนคืนกลางคันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องคำนวณดัชนีต้นทุนเวนคืนในสองกรณี ได้แก่ การเวนคืนกรมธรรม์ ณ สิ้นปีที่ 10 และการถือกรมธรรม์จนครบสัญญาในปีที่ 20 ภายใต้สมมติฐานว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสอยู่ที่ 4% ต่อปี


ตารางเปรียบเทียบการคำนวณดัชนีต้นทุนเวนคืน ณ ปีที่ต่างกัน

 

รายการ

ปีที่ 10

ปีที่ 20

หมายเหตุ

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  เบี้ยประกันรายปี

8,600.00

8,600.00

จ่ายทุกต้นปี

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  มูลค่าอนาคตของเบี้ยประกัน (4%)

107,382.62

266,335.13

รวมดอกเบี้ยทบต้น

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  มูลค่าอนาคตของเงินคืน (4%)

25,622.99

65,871.79

รวมดอกเบี้ยทบต้น

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  มูลค่าอนาคตของเบี้ยประกันสุทธิ

81,759.63

200,463.34

ผลต่างของมูลค่าอนาคตของเบี้ยประกันและเงินคืน

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  มูลค่าเงินสด

54,300.00

185,000.00

เงินที่ได้รับคืนเมื่อมีการเวนคืนหรือครบกำหนดสัญญา

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  มูลค่าอนาคตของต้นทุนรวมสุทธิ

27,459.63

15,463.34

หลังหักมูลค่าเงินสด

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  FVIFADi=4%,n

12.4864

30.9692

ตัวคูณมูลค่าเงินตามเวลาเพื่อแปลงมูลค่าอนาคตเป็นเงินงวดแบบต้นงวด

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  ต้นทุนเวนคืนต่อปี

2,199.17

499.31

ต้นทุนรวม/FVIFAD

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  ต้นทุนต่อทุนประกัน 1,000 บาท

21.99

4.99

คำนวณต่อหน่วยมาตรฐาน

 
จากตัวอย่างนี้ดัชนีต้นทุนเวนคืนต่อปีของกรมธรรม์ ณ ปลายปีที่ 10 และ 20 มีค่าเป็น 21.99 บาท และ 4.99 บาทต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท ดังนั้นจะเห็นว่ากรมธรรม์นี้มีต้นทุนไม่ว่าจะยกเลิกกรมธรรม์ ณ ปลายปีที่ 10 หรือเมื่อครบอายุกรมธรรม์ 20 ปี อย่างไรก็ตามเนื่องจากดัชนีต้นทุนเวนคืน ณ สิ้นปีที่ 10 คำนวณได้เท่ากับ 21.99 บาท ต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท ในขณะที่ดัชนีต้นทุนเวนคืน ณ สิ้นปีที่ 20 คำนวณได้เท่ากับ 4.99 บาทต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท สะท้อนต้นทุนที่ค่อนข้างสูงในช่วงครึ่งแรกของกรมธรรม์และแสดงให้เห็นประโยชน์ของการถือครองกรมธรรม์ระยะยาว
 


วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน  ผู้เขียน: ผศ.ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล CFP®

สงวนลิขสิทธิ์  โดย บริษัท ศูนย์อบรมไทยพีเอฟเอ จำกัด 
ข้อมูลและบทความบนเว็บไซต์นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ บริษัท ศูนย์อบรมไทยพีเอฟเอ จำกัด 
มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเพื่อการศึกษาเท่านั้น  
ห้ามทำซ้ำ หรือ คัดลอกเพื่อนำไปเผยแพร่ต่อในเว็บไซด์อื่นๆ หรือ สื่อสิ่งพิมพ์ใดๆ หรือ รูปแบบอื่นใด ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท ฯ


ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA