สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สิ่งที่ภาคภูมิใจที่สุด ในการเป็นนักวางแผนการเงิน CFP
 
ความภาคภูมิใจที่สุด ในการเป็นนักวางแผนการเงิน CFP

อย่างที่ทุกคนได้ทราบ การจะได้รับคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP นั้นต้องผ่านกระบวนการในการที่ได้มาค่อยข้างยาก ไม่มีคำว่าจ่ายครบจบแน่ แต่จะได้มานั้นต้องมีความพยายามและมีความตั้งใจในการที่จะอยากให้ผ่านตามเกณฑ์ ที่ไม่ใช่แต่ระดับประเทศ แต่มันเป็นการได้มาในระดับมาตรฐานสากลระดับโลก ทั้งกระบวนการเรียน และการสอบ และทั้งประสบการณ์ทางการเงิน ทุกกะบวนการที่ได้รับต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วโลก

ดังนั้นการได้มาซึ่งคุณวุฒิอันทรงเกียรตินี้ จะต้องผ่านด่านและกระบวนการมากขนาดไหนถึงได้มา เรามาลองฟัง ความภาคภูมิใจที่สุด ในการเป็นนักวางแผนการเงิน CFP จากมุมมองของสายงานต่างๆ วันนี้ผมได้รวบรวม มุมมอง ความภาคภูมิใจที่สุด ในการเป็นนักวางแผนการเงิน CFP ในแต่ละด้านว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไร ไปฟังกันครับ
 


 
 


และนี้คือความภาคภูมิใจที่สุด ในการเป็นนักวางแผนการเงิน CFP จากที่ได้ฟังวิทยากรจากสายงานต่างๆได้พูดถึง ถ้านึกเล่นๆว่าถ้าคนไทยมีความรู้ทางการเงินและรู้จักการวางแผนการเงิน มากกว่านี้ จะทำให้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านเราลดลงไปมากแค่ไหน และถ้าทุกครอบครัวรู้จักการวางแผนการเงิน จะทำให้ปัญหาทุกอย่างในประเทศหมดไปได้เลย มาเถอะครับ  มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้คนไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน กันนะครับ


 4 E's: เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
สมาคมนักวางแผนการเงินไทยผลิตนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPTTM ที่มีความรู้ ความสามารถและยึดมั่นในจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด ให้บริการวางแผนการเงินโดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐานสากลที่กำหนดโดย FPSB อันได้แก่ 4 E's คือ ผ่านการอบรม (Education) และการสอบ (Examination) มีประสบการณ์การทำงาน (Experience) และปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน (Ethics) รวมทั้งมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความรู้ที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์
 

- E1 คือ Education (การศึกษา) นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT

จะต้องมีความรู้ด้านการวางแผนการเงินและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติตามมาตรฐานที่สมาคมฯ กำหนด โดยต้องเข้ารับการอบรมกับสถาบันอบรมที่ได้รับอนุญาตของสมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐานความรู้ 6 ชุดวิชา ทั้งนี้หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน CFP® สามารถใช้เป็นหลักสูตรอบรมความรู้สำหรับการต่ออายุการให้ความเห็นชอบเป็นนักวิเคราะห์การลงทุน ผู้แนะนำการลงทุนและผู้วางแผนการลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้ดังนี้
  1. ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (Foundation of Financial  Planning, Taxation, and Ethics and Practice Standards) ทั้งนี้สามารถนับเป็นจำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์พื้นฐาน (ทั่วไป) 21 ชั่วโมง และจำนวนชั่วโมงความรู้เกี่ยวกับกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง 3 ชั่วโมง
  2. ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (Investment Planning) ทั้งนี้สามารถนับเป็นจำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 12 ชั่วโมง และจำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 12 ชั่วโมง
  3. ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย (Insurance Planning)
  4. ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ (Retirement Planning) ทั้งนี้สามารถนับเป็นจำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 21 ชั่วโมง และจำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 3 ชั่วโมง
  5. ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก (Tax and Estate Planning) ทั้งนี้สามารถนับเป็นจำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 17.30 ชั่วโมง
  6. ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน (Financial Plan Construction) ทั้งนี้สามารถนับเป็นจำนวนชั่วโมงความรู้ด้านหลักทรัพย์ (พื้นฐาน) 9 ชั่วโมง และจำนวนชั่วโมงความรู้ด้าน Asset Allocation 9 ชั่วโมง
*** การเข้ารับการอบรมในชุดวิชาที่ 1 - 5 ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ แต่การเข้ารับการอบรมในชุดวิชาที่ 6 จำเป็นต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 1 - 5 ก่อน แนะนำให้เริ่มเรียนจาก ชุดวิชาที่ 1 และ จบด้วยชุดวิชาที่ 6
 

- E2 คือ Examination (การสอบ) นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT

จะต้องผ่านการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เพื่อประเมินความสามารถในการนำความรู้ และทักษะจากการอบรมไปประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผนการเงิน ซึ่งประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 4 ฉบับ แต่ละฉบับมีเนื้อหาครอบคลุมแต่ละชุดวิชา ดังต่อไปนี้
  1. ข้อสอบฉบับที่ 1. พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (ปรนัย 85 ข้อ) ครอบคลุมการอบรมชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
  2. ข้อสอบฉบับที่ 2. การวางแผนการลงทุน (ปรนัย 85 ข้อ) ครอบคลุมการอบรมชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน
  3. ข้อสอบฉบับที่ 3. การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ (ปรนัย 85 ข้อ) ครอบคลุมการอบรม ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย และการอบรมชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
  4. ข้อสอบฉบับที่ 4. ส่วนที่ 1: การวางแผนภาษีและมรดก (ปรนัย 45 ข้อ) ครอบคลุมการอบรมชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก
    ข้อสอบฉบับที่ 4. ส่วนที่ 2: ข้อสอบแผนการเงิน ครอบคลุมการอบรมชุดวิชาที่ 1 - 6  
 

- E3 คือ Experience (ประสบการณ์การทำงาน) สมาคมนักวางแผนการเงินไทย กำหนดให้นักวางแผนการเงิน CFP

จะต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการวางแผนการเงินแก่ลูกค้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ และความสามารถในเชิงปฏิบัติ
  1. มีประสบการณ์การทำงาน 3 ปี ภายในระยะเวลา 5 ปีก่อนการสอบผ่านหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP หรือ
  2. มีประสบการณ์การทำงาน 3 ปี ภายในระยะเวลา 8 ปีหลังการสอบผ่านหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP หรือ
  3. มีประสบการณ์การทำงาน 3 ปี ที่เป็นไปตามเงื่อนไขของกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ร่วมกัน
หน่วยงาน ตำแหน่งงาน
ธนาคารพาณิชย์
สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์
บริษัทหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
 
นักวางแผนการเงิน
ผู้จัดการกองทุน
นักวิเคราะห์
วาณิชธนกิจ/ธนบดีธนกิจ (IB)
ผู้แนะนำการลงทุน
เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์การเงินและการลงทุน
ผู้บรรยาย หรือเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านการเงินและการลงทุน และด้านการกำกับและตรวจสอบ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ผู้จัดการกองทุน
เจ้าหน้าที่สมาชิกสัมพันธ์
สำนักงานประกันสังคม เจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารการลงทุน
หน่วยงานกำกับดูแล เจ้าหน้าที่หน่วยงานกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพ
บริษัทประกันชีวิต เจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน
นักคณิตศาสตร์ประกันชีวิต
ผู้พิจารณารับประกัน (Underwriter) และสินไหมประกันชีวิต
เจ้าหน้าที่กำกับและตรวจสอบ
ตัวแทนขาย
เจ้าหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์กรมธรรม์
ผู้บรรยายด้านประกันชีวิต
อื่นๆ ตามที่สมาคมฯ ให้ความเห็นชอบ
 

- E4 คือ Ethics (จรรยาบรรณ) นักวางแผนการเงิน CFP ที่ปรึกษาการเงิน AFPT

และผู้สมัครจะต้องตกลงที่จะยึดถือและปฏิบัติตาม “ประมวล จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน” และ “หลักปฏิบัติการวางแผนการเงิน” ซึ่ง เป็นหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบที่นักวางแผนการเงิน CFP ที่ปรึกษาการเงิน AFPT และผู้สมัครพึงปฏิบัติต่อสาธารณะ ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และนายจ้าง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่สาธารณชนที่มีต่อวิชาชีพนักวางแผนการเงิน
 
ตารางอบรมCFP
รายละเอียดการอบรมCFP
สมัครอบรมCFP
ที่มา www.thaipfa.co.th
สรุปเป็นภาพง่าย การจะเป็นนักวางแผนการเงิน CFP ต้องทำอย่างไร บ้างดังนี้
ทำยังไงจะได้ใบอนุญาตที่ปรึกษาการวางแผนการเงิน CFP

 

ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA