สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
รู้จักใบอนุญาตและวุฒิวิชาชีพทางการเงิน
 

รู้จักใบอนุญาตและวุฒิวิชาชีพทางการเงิน

 
 

นักวางแผนการเงิน CFP® คือ คุณวุฒิของผู้ประกอบวิชาชีพที่สามารถให้บริการวางแผนการเงินซึ่งประกอบด้วย แผนการลงทุน แผนการประกันชีวิต แผนภาษีและมรดก และแผนเพื่อวัยเกษียณแก่ลูกค้า ที่ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษาและจัดทำแผนการเงินในทุกๆด้านตามที่กล่าวมาภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเงินตามต้องการ และมีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณอย่างมีความสุข เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปสู่เป้าหมายในอนาคต โดยนักวางแผนการเงิน CFP® จะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ

เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® เป็นลิขสิทธิ์ของคณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงิน (Financial Planning Standards Board Ltd. - FPSB) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP เพื่อให้ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์และได้รับการคุ้มครอง สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (สมาคมฯ) ซึ่งเป็นสมาชิกและมีคุณสมบัติตามข้อกาหนดของคณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงิน ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการให้ดาเนินการบริหารโครงการคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ในประเทศไทย บุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ที่สมาคมฯ กาหนด จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP

ผู้ที่จะได้รับคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงินและที่ปรึกษาการเงิน จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการเรียกว่า 4E's อันได้แก่

-               การอบรม (Education)

-               การสอบ (Examination)

-               ประสบการณ์การทำงาน (Experience)

-               จรรยาบรรณ (Ethics)

 

การอบรม (Education)

สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (Thai Financial Planners Association, TFPA) กำหนดให้การอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงินต้องมีจำนวนชั่วโมงการอบรมทั้งหมด 40 ชั่วโมง แบ่งเป็นการศึกษาในห้องเรียน (class room) 24 ชั่วโมง และการศึกษาด้วยตนเอง (self-study) 16 ชั่วโมง ทั้งนี้หลักสูตรการวางแผนทางการเงินประกอบด้วยองค์ความรู้ 6 ชุดวิชาดังต่อไปนี้

-               ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (Foundation of Financial & Tax Planning)

-               ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (Investment Planning) 

-               ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย (Insurance Planning)

-               ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ (Retirement Planning)

-               ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก (Tax and Estate Planning)

-               ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน (Financial Plan Construction)
 

 

ตารางอบรมCFP
รายละเอียดการอบรมCFP
สมัครอบรมCFP


 

ในการเข้ารับการอบรม ไม่จำเป็นต้องเข้าอบรมตามลำดับ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเข้าอบรมชุดวิชาใดก่อนก็ได้ ยกเว้นชุดวิชาที่ 6 จำเป็นจะต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1-5 เสียก่อนจึงจะสามารถเข้าอบรมในชุดวิชาที่ 6 ได้ โดยในการเข้ารับการอบรมนั้น ไม่จำเป็นต้องผ่านการสอบแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครสอบจะต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 1 และชุดวิชาที่เกี่ยวข้อง

ผู้มีความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเนื้อหาการอบรมในบางชุดวิชา อันเนื่องมาจากการศึกษา หรือมีใบอนุญาตปฏิบัติงาน สามารถยื่นเรื่องต่อสมาคมฯ เพื่อขอยกเว้นการเข้าอบรมในชุดวิชานั้นๆ ได้ ซึ่งหลักเกณฑ์และรายละเอียด ดังนี้
 

หลักเกณฑ์

รายละเอียด

ได้รับการยกเว้นอบรม

ผ่านการเรียนและสอบในระดับปริญญาตรีหรือโท จากสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรอง จากสำนักงานคณะกรรมการ ก.พ.

วิชาการเงินบุคคล (Personal Finance) และ

ภาษีพื้นฐาน (Taxation)

ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษีและจรรยาบรรณ

วิชาการลงทุน (Investment) และ

การวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analysis)

ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน

วิชาการประกันภัย (Insurance)

ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย

มีใบอนุญาต

นักวิเคราะห์การลงทุนด้านหลักทรัพย์

(Securities Investment Analyst) หรือ

ผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์

(Securities Investment Consultant)

ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน

ตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต

ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย


ค่าธรรมเนียมการพิจารณาการเทียบเคียงความรู้ (Transcript Review) จำนวน 1,605 บาท/ชุดวิชา (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) โดยเช็คสั่งจ่าย “สมาคมนักวางแผนการเงินไทย” หรือโอนผ่านบัญชีออมทรัพย์ “สมาคมนักวางแผนการเงินไทย” เลขที่ 017-2-27111-3 ธนาคารกสิกรไทย สาขาคลองเตย ทั้งนี้สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าธรรมเนียมการพิจารณา

สมาคมฯ เปิดโอกาสการขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม (Challenge Status)ให้ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ มีสิทธ์เข้าสอบได้ โดยไม่ต้องผ่านการอบรมในทุกชุดวิชา

-               เป็นผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.พ. ในสาขาวิชาการเงิน บริหารธุรกิจ บัญชีหรือเศรษฐศาสตร์ 

-               เป็นผู้มีคุณวุฒิวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ Certified Public Accountant (CPA) หรือ Chartered Financial Analyst (CFA) (Lv.3) หรือ CISA (Lv.3)

ค่าธรรมเนียมการพิจารณาการขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม จำนวน 5,350 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) โดยเช็คสั่งจ่าย "สมาคมนักวางแผนการเงินไทย" ทั้งนี้ สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการคืนค่าธรรมเนียมการพิจารณา

ผู้ที่มีความประสงค์จะใช้สิทธิ์การเทียบเคียงพื้นฐานความรู้ หรือการขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม จะต้องยื่นแบบคำขอพิจารณา การเทียบเคียงพื้นฐานความรู้ หรือการขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม เพื่อขอให้สมาคมฯ พิจารณา พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา ได้แก่

-               สำเนาบัตรประชาชน

-               สำเนาหลักฐานรับรองผลการศึกษา หรือใบอนุญาตที่กำหนด (กรณีการเทียบเคียงพื้นฐานความรู้) หรือ

-               สำเนาหลักฐานรับรองการสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกในสาขาวิชาที่กำหนด

-               สำเนาหลักฐานแสดงการสอบผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ ตามที่กำหนด 

-               เอกสารประกอบการพิจารณาทุกรายการต้องมีการลงนามรับรองสำเนา

จัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณามาที่ สมาคมนักวางแผนการเงินไทย ชั้น 11 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 62 ถ.รัชดาภิเษก คลองเตย กรุงเทพฯ 10110

คู่มือและวิธีการยกเว้นการอบรมเพื่อสอบCFP

 

การสอบ (Examination)

ในการสอบ ทางสมาคมได้แบ่งข้อสอบออกเป็นทั้งหมด 4 ชุด โดยมีเนื้อหาครอบคลุมดังต่อไปนี้

-               ข้อสอบฉบับที่ 1 ครอบคลุมเนื้อหาการอบรมชุดวิชาที่ 1

-               ข้อสอบฉบับที่ 2 ครอบคลุมเนื้อหาการอบรมชุดวิชาที่ 2

-               ข้อสอบฉบับที่ 3 ครอบคลุมเนื้อหาการอบรมชุดวิชาที่ 3 และ ชุดวิชาที่ 4

-               ข้อสอบฉบับที่ 4.1 ครอบคลุมเนื้อหาการอบรมชุดวิชาที่ 5

-               ข้อสอบฉบับที่ 4.2 ครอบคลุมเนื้อหาการอบรมชุดวิชาที่  6

ในการสอบข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 นั้น ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการสอบตามลำดับแต่อย่างใด ผู้เข้าสอบสามารถเลือกชุดข้อสอบที่ประสงค์จะสอบได้ตามความสมัครใจ แต่มีเงื่อนไขในการเข้าสอบคือ ต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 และชุดวิชาที่ข้อสอบชุดนั้นๆ ครอบคลุมถึง เช่นต้องการเข้ารับการสอบในข้อสอบชุดที่ 3 จะต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 และผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 3 และ 4 แล้ว เป็นต้น ส่วนการสอบข้อสอบฉบับที่ 4 จะต้องสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 ก่อน

เครื่องคิดเลขที่สมาคมนักวางแผนการเงินไทยอนุญาตให้นำเข้าห้องสอบมีดังต่อไปนี้คือ Texas Instruments BAII Plus, Texas Instruments BAII Plus Professional, Casio FC100, Casio FC 100V, Casio FC 200V, HP 10 B, HP 10 B II, HP 12 C และ HP 12 C Platinum

 

การสอบ (Examination)

นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ต้องผ่านการสอบเพื่อประเมินความสามารถ ในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้สำหรับให้คำปรึกษา และจัดทำแผนการเงิน อันจะนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือและประโยชน์ของลูกค้า หรือผู้ขอรับคำปรึกษา โดยนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องผ่านการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP® ตามที่สมาคมกำหนดดังนี้

คุณวุฒิวิชาชีพ

สอบผ่านข้อสอบ

ที่ปรึกษาการเงิน AFPT

ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน หรือ

ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
ฉบับที่ 3 การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

นักวางแผนการเงิน CFP®

ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน
ฉบับที่ 3 การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
ฉบับที่ 4 ส่วน 1  การวางแผนภาษีและมรดก 
ฉบับที่ 4 ส่วน 2  การจัดทำแผนการเงิน

การสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 4 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีเนื้อหาครอบคลุมแต่ละชุดวิชา ดังต่อไปนี้

การอบรมและการสอบCFP


ข้อสอบฉบับที่ 1: พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน

6-10 ข้อ

เครื่องมือทางการเงินสำหรับสำหรับการบริหารสภาพคล่องส่วนบุคคล

6-10 ข้อ

มูลค่าเงินตามเวลา

11-15 ข้อ

การรวบรวมข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล

9-13 ข้อ

การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล

9-13 ข้อ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้ส่วนบุคคล

11-15 ข้อ

จรรยาบรรณ และคู่มือการปฎิบัติงานสำหรับนักวางแผนการเงิน

21 ข้อ

รวม

85 ข้อ

ข้อสอบฉบับที่ 2: การวางแผนการลงทุน

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนและ การวางแผนการลงทุน

4-8 ข้อ

หลักทรัพย์ลงทุนในตลาดเงินและตลาดตราสารทุน

6-10 ข้อ

หลักทรัพย์ลงทุนในตลาดตราสารหนี้และอนุพันธุ์

6-10 ข้อ

การลงทุนในทางเลือกอื่น

6-10 ข้อ

ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจลงทุน

6-10 ข้อ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์

6-10 ข้อ

การจัดสรรเงินลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์

6-10 ข้อ

กลยุทธ์การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์

6-10 ข้อ

การวัดผลตอบแทนกลุ่มหลักทรัพย์

6-10 ข้อ

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน*

15 ข้อ

รวม

85 ข้อ

*ศึกษาด้วยตนเอง

 

ข้อสอบฉบับที่ 3: การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการประกันภัย

1-5 ข้อ

การจัดการความเสี่ยงภัยและการประกันภัย

7-11 ข้อ

การประกันชีวิและการประกันสุขภาพ

17-21 ข้อ

การประกันวินาศภัย

8-12 ข้อ

การจัดทำแผนประกันภัย

8-12 ข้อ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

1-5 ข้อ

การประกันสังคม

3-7 ข้อ

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

1-5 ข้อ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

3-7 ข้อ

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

3-7 ข้อ

การบริหารความเสี่ยงและการลงทุนเพื่อวัยเกษียณ

1-4 ข้อ

กระบวนการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

7-11 ข้อ

การวางแผนเพื่อวัยเกษียณสำหรับผู้ประกอบการ
และบทบาทของนักวางแผนการเงิน กับการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

1-4 ข้อ

รวม

85 ข้อ

ข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1: การวางแผนภาษีและมรดก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนภาษีและกระบวนการวางแผนภาษี

1-5 ข้อ

โครงสร้างและองค์ประกอบการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1-5 ข้อ

กลยุทธ์ในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- การกระจายหน่วยภาษี และการกระจายเงินได้
- การลดเงินได้สุทธิ
- การแปลงประเภทเงินได้ เพื่อประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่าย
- การบริหารเงินได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ
- การกำหนดเวลาในการรับเงิน ได้
- การเลือกรวม หรือไม่รวมเสียภาษีปลายปี

12-16 ข้อ

การวางแผนภาษีแยกตามประเภทอาชีพมนุษย์เงินเดือน 
- ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ 
- ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมา และธุรกิจอื่น 
- ผู้มีเงินได้จากการลงทุนในหลักทรัพย์ 
- ผู้มีเงินได้จากการใช้หรือเช่าทรัพย์สิน 
- ผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์สิน

14-18 ข้อ

แนวคิดในการวางแผนทรัพย์สินและมรดก และการจัดการทรัพย์สินในขณะมีชีวิต

1-4 ข้อ

ความหมายของมรดก

1-3 ข้อ

การตกทอดของทรัพย์มรดกและผู้จัดการมรดก

1-5 ข้อ

พินัยกรรมและกระบวนการวางแผนการจัดการทรัพย์สินและมรดก

1-5 ข้อ

รวม

45 ข้อ

ข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2: การจัดทำแผนการเงินแผนการเงิน

เกณฑ์การให้คะแนน

รายละเอียด

การวิเคราะห์ข้อมูล

สามารถวิเคราะห์สถานะและปัญหา/ข้อจำกัดทางการเงินของลูกค้า ได้อย่างมีเหตุผล และน่าเชื่อถือ รวมถึงใช้การคำนวณที่เหมาะสม

สามารถกำหนดข้อสมมุติฐานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและน่าเชื่อถือ

สามารถวิเคราะห์ และคำนวณความต้องการทางการเงิน ซึ่งนำไปสู่กลยุทธ์ และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางการเงินของลูกค้า

ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำ

ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาหรือข้อจำกัดทางการเงิน ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินของลูกค้าเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

ข้อเสนอแนะและคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับแผนการเงิน ในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง เหมาะสม มีเหตุผลและสมมุติฐานที่น่าเชื่อถือ เป็นไปตามหลักจรรยาบรรณที่ดี และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

แผนการเงินในแต่ละด้านมีความสอดคล้องและ ความสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมเป็นแผนการเงินแบบบูรณาการ

แผนปฏิบัติการ

เป็นเหตุเป็นผล สอดคล้องกับข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำ

เป็นขั้นตอนสามารถนำไปปฎิบัติได้จริง

กรอบของระยะเวลาการนำไปปฎิบัติในแต่ละขั้นตอนเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล และกำหนดบทบาทของผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

การนำเสนอแผนการเงิน

เกณฑ์การให้คะแนน

รายละเอียด

การนำเสนอแผนการเงิน

มีความน่าสนใจ น่าเชื่อถือ และมีองค์ประกอบ หัวข้อ หรือรายละเอียดครบตามหลักวิชาการ

โครงสร้างและลำดับการนำเสนอแผนการเงินเหมาะสม

ภาษาและการสื่อสารเข้าใจง่าย สามารถตอบคำถามได้อย่างน่าเชื่อถือ

บุคลิกภาพของผู้นำเสนอเหมาะสม

เกณฑ์การสอบผ่าน

เกณฑ์การให้คะแนน

รายละเอียด

ข้อสอบฉบับที่ 1: พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ

สอบได้ 70% (60 คะแนน) ของคะแนนรวม (85 คะแนน) และ

บังคับผ่าน 70% ในส่วนจรรยาบรรณ (15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 21 คะแนน)

ข้อสอบฉบับที่ 2: การวางแผนการลงทุน

สอบได้ 70% (60 คะแนน) ของคะแนนรวมและ

บังคับผ่าน 70% ในส่วนแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน (11 คะแนน จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน)

ข้อสอบฉบับที่ 3: การวางแผนการประกันภัยและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

สอบได้ 70% (60 คะแนน) ของคะแนนรวม

ข้อสอบฉบับที่ 4: การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน

บังคับผ่าน 70% ของคะแนนในส่วนที่ 1 การวางแผนภาษีและมรดก และ

ผลการประเมินของการสอบในส่วนที่ 2 การจัดทำแผนการเงิน จะต้องอยู่ในเกณฑ์ "ผ่าน" (การประเมินผลของการสอบในส่วนที่ 2 มีเพียง "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน")

หมายเหตุ
เกณฑ์การสอบผ่านจะพิจารณาจากผลการสอบ "ผ่าน" ของส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 โดยไม่จำเป็นต้องเป็นการสอบครั้งเดียวกัน

 

ค่าธรรมเนียมการสอบ

ข้อสอบ

บุคคลทั่วไป

สมาชิกสมาคมฯ

ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ

2,000

1,700

ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน

3,000

2,550

ฉบับที่ 3 การวางแผนการประกันภัยและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

3,000

2,550

ฉบับที่ 4 การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน

 

             ส่วนที่ 1 การวางแผนภาษีและมรดก

2,000

1,700

             ส่วนที่ 2 การจัดทำแผนการเงิน

5,500

4,675

ค่าธรรมเนียมการสอบ รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) แล้ว

 

 




ประสบการณ์การทำงาน (Experience)

 

การขึ้นทะเบียนเป็น นักวางแผนการเงิน CFP® ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนต้องมีประสบการณ์ทำงานในด้านที่เกี่ยวข้องดังนี้

ตามประกาศใหม่ของทางสมาคมนักวางแผนการเงินไทย

TFPA 001/2556 แก้ไขเกณฑ์ประสบการณ์การทำงาน

รายละเอียดดังนี้ http://tfpa.or.th/2014/detail.php?id=108

 

การต่ออายุ

สมาคมฯ ให้สิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ซึ่งได้แก่ CFP®, CERTIFIED FINANCIAL PLANNERSTM,  และ และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ และเกณฑ์ต่างๆ ที่สมาคมฯ กำหนดภายหลังจากที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ

ระยะเวลาคุณวุฒิวิชาชีพเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ ทั้งนี้ นักวางแผนการเงินCFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพทุก 2 ปีปฏิทิน หรือมากกว่า 2 ปีปฏิทินสำหรับนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงินAFPT ที่ขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพครั้งแรก เนื่องจากสมาคมฯ กำหนดให้เริ่มต้นนับระยะเวลาสำหรับการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพตั้งแต่เดือนมกราคมของปีปฏิทินถัดไป เพื่อสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT

นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องมีจำนวนชั่วโมงของการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Continuing Professional Development – CPD) ตามที่สมาคมฯ กำหนดเพื่อประกอบการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ

นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องส่งแบบฟอร์มการต่ออายุและเปิดเผยข้อมูลคุณวุฒิวิชาชีพ แบบฟอร์มรายงานชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง พร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามที่สมาคมฯ กำหนด ภายในวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ครบกำหนดต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ

ค่าธรรมเนียมสมาชิกราย 2 ปี

-          นักวางแผนการเงิน CFP จำนวน 7,490 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

-          ที่ปรึกษาการเงิน AFPT จำนวน 2,568 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

เกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ

Download

รายละเอียดดังนี้ http://tfpa.or.th/2014/pages.php?page=3-7


 

 ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล

 


Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA)
ติดต่อ
      086-666-0090 , 082-701-7077 , 087-063-3306 

ขอบคุณทุกความไว้วางใจ ที่มีให้ ThaiPFA


#นักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลกับThaiPFA #เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลโดยThaiPFA #ThaiPFAศูนย์อบรมต้นแบบเพื่อความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน
E-mail: thaipfa@gmail.com
Website: www.thaipfa.co.th 
Social network: www.facebook.com/thaipfa
LINE: @thaipfa
Mobile: 086-666-0090 , 087-063-3306 ,082-701-7077

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA