สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
วางแผนการเงินแบบ 2 เพิ่ม 2 ลด
 

วางแผนการเงินแบบ 2 เพิ่ม 2 ลด

 
ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล CFP®
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 และ กรรมการสมาคมนักวางแผนการเงินไทย
 
มีคนถามว่าควรเริ่มต้นวางแผนการเงินวันไหนดี เริ่มต้นปีใหม่ดีไหม คำตอบของผมก็คือว่าวันที่คุณอ่านบทความนี้หรือถามคำถามนี้ล่ะครับที่เป็นวันดีที่ต้องรีบวางแผนการเงิน เพื่อที่จะได้มีวันที่เราสามารถประกาศอิสรภาพทางการเงินของเราให้คนอื่นๆได้อิจฉา
การร่างแผนทางการเงินเพื่อประกาศอิสรภาพทางการเงินให้กับตนเอง ไม่ยากเลยครับ แนวคิด “2 เพิ่ม 2 ลด” เป็นอีก 1 แนวทางง่ายๆที่เราสามารถใช้เพื่อสร้างความเป็นไทให้กับตนเองได้ด้วยตนเอง
เพิ่มรายได้ เป็นแนวทางที่ตรงไปตรงมาที่สุดในการก้าวเข้าสู่ถนนอิสรภาพทางการเงิน วันนี้คุณเคยถามตัวเองหรือยังว่า เรารักงานประเภทไหน และเรามีความถนัดทางด้านใด เมื่อไรที่เราทำงานที่เรารัก เราก็จะทำงานที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย นั่นย่อมส่งผลทำให้เราสามารถทำงานได้ในปริมาณที่มากซี่งย่อมส่งผลทำให้มีรายได้มากยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นหากงานที่เราทำได้มากเป็นงานที่เราถนัดก็จะยิ่งทำให้เราทำงานได้เสร็จเร็ว และมีเวลาเหลือทำงานได้มากยิ่งขึ้นไปอีก และก็จะยิ่งส่งผลทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว อย่างไรก็ตามงานที่เรารักและถนัดจะยิ่งสร้างรายได้ให้กับเรามากยิ่งขึ้น ถ้าหากเป็นงานที่คนอื่นทำไม่ได้และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
วันนี้ลองสำรวจความชอบของตนเอง สำรวจความถนัดของตนเอง และสำรวจตลาดแรงงานว่า งานที่คุณกำลังทำอยู่ทุกวันนี้เป็นงานที่สร้างรายได้ให้คุณอย่างสูงที่สุดหรือไม่ ถ้าคำตอบออกมาว่าไม่ใช่ ทางเลือกก็มีไม่มากนักถ้าหากคุณยังต้องการเพิ่มรายได้ ทางเลือกแรกคุณก็คงต้องเปลี่ยนงานไปหางานที่ตนเองรักและเป็นงานที่ตนเองถนัดและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน กับทางเลือกที่สองคุณก็คงต้องเปลี่ยนใจตัวเองให้รักในงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้ตนเองมีความถนัดและเชี่ยวชาญในงานที่ทำมากขึ้น รวมทั้งหาแนวทางในการทำให้งานที่กำลังทำอยู่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
เพิ่มทรัพย์สิน หลังจากคุณสามารถเพิ่มรายได้แล้ว ก็ต้องรู้จักนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาสะสมทรัพย์สินให้มากขึ้น เริ่มต้นก็ต้องสะสมเงินสด เงินออมในบัญชีเงินฝากต่างๆ รวมทั้งเงินลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน ให้เพียงพอที่จะใช้ชำระคืนหนี้สินระยะสั้นที่ครบกำหนดในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี รวมทั้งสะสมเอาไว้สำรองใช้ประมาณ 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเผื่อยามที่ตกงานและยังหางานใหม่ไม่ได้
หลังจากเพิ่มทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงดังกล่าวจนเพียงพอ ก็ต้องนำรายได้ไปสะสมสินทรัพย์เพื่อการลงทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กรมธรรม์ประกันชีวิต ตราสารหนี้ ตราสารทุน ตราสารอนุพันธ์ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ และกองทุนรวมประเภทต่างๆ เพื่อให้มีเงินเป็นจำนวนที่เพียงพอสำหรับเป้าหมายต่างๆในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น เป้าหมายซื้อรถยนต์ เป้าหมายซื้อบ้าน เป้าหมายการศึกษาบุตร และเป้าหมายวัยเกษียณ  นักวางแผนการเงินคุณวุฒิวิชาชีพ CFP อาจเป็นตัวช่วยให้คำปรึกษาคำแนะนำในการลงทุนกับคนที่ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในการลงทุน
อย่างไรก็ตามรายได้บางส่วนก็อาจนำมาเพิ่มทรัพย์สินต่างๆที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ บ้าน ฯลฯ แต่ต้องระมัดระวังว่าอย่าให้มันเกินกว่าอัตภาพหรือความจำเป็น
ลดรายจ่าย ถ้าหากรายได้เพิ่มขึ้น แต่รายจ่ายก็เพิ่มขึ้นมากกว่า หนทางสู่เสรีภาพทางการเงินก็อาจทอดยาวออกไปอีกไกล รายจ่ายที่ควรลดเป็นอันดับแรก คือรายได้ฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น ถัดมาก็ควรต้องรู้จักลดรายจ่ายภาษี โดยการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐจัดให้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว ประกันชีวิต สุดท้ายก็ไม่ควรมองข้ามการวางแผนประกันเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่คาดฝันจากอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
ลดหนี้สิน การนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นและผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาชำระคืนหนี้สินย่อมทำให้วันที่สำหรับการประกาศอิสรภาพทางการเงินมองเห็นแสงสว่างอยู่รำไร อย่างไรก็ตามการรีไฟแนนซ์หนี้ที่มีอยู่ เช่น การเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตหรือสินเชื่อบุคคลที่ไม่มีหลักประกันและต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกันก็อาจเป็นอีกหนทางที่จะช่วยร่นตารางการประกาศอิสรภาพทางการเงินให้ใกล้ความจริงมากยิ่งขึ้น
ผมหวังว่าวันนี้จะเป็นวันที่คุณได้เริ่มต้นที่จะร่างแผนประกาศอิสรภาพทางการเงินของตนเองเหมือนกับที่ Thomas Jefferson ได้ใช้วันที่ 4 กรกฏาคมในอดีตร่างคำประกาศอิสรภาพให้กับคนอเมริกา และต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของประเทศสหรัฐอเมริกา
 

www.thaipfa.co.th
ศูนย์อบรม ThaiPFA
 

 ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล

 


Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA)
ติดต่อ
      086-666-0090 , 082-701-7077 , 087-063-3306 

ขอบคุณทุกความไว้วางใจ ที่มีให้ ThaiPFA


#นักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลกับThaiPFA #เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลโดยThaiPFA #ThaiPFAศูนย์อบรมต้นแบบเพื่อความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน
E-mail: thaipfa@gmail.com
Website: www.thaipfa.co.th 
Social network: www.facebook.com/thaipfa
LINE: @thaipfa
Mobile: 086-666-0090 , 087-063-3306 ,082-701-7077

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA