สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
การสอบ หลักสูตรนักวางแผนการเงิน CFP
 

การสอบ

ถาม: การสอบหลักสูตรวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยข้อสอบกี่ฉบับ และครอบคลุมเนื้อหาการอบรมในแต่ละชุดวิชาอย่างไรบ้าง
ตอบ: การสอบหลักสูตรวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 4 ฉบับ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมการอบรมแต่ละชุดวิชา ดังนี้


ถาม: จำเป็นต้องสมัครสอบตามลำดับของฉบับข้อสอบหรือไม่
ตอบ: ในการสมัครสอบข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบข้อสอบฉบับใดฉบับหนึ่งก่อนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องสมัครสอบตามลำดับของฉบับข้อสอบ ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบจะต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 1 และชุดวิชาที่มีเนื้อหาตรงกับข้อสอบฉบับนั้นๆ ก่อน

ในการสมัครสอบข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1 ผู้สมัครสอบจะต้องสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 และต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 5 ก่อน

ในการสมัครสอบข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 ผู้สมัครสอบจะต้องสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 และต้องผ่านการอบรมในทุกชุดวิชาก่อน


ถาม: มีการจัดสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ถี่มากน้อยแค่ไหน
ตอบ: สมาคมฯ กำหนดจัดสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ดังนี้

 

  • ข้อสอบฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 จำนวน 5 ครั้ง/ปี
  • ข้อสอบฉบับที่ 3 และข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1 จำนวน 3 ครั้ง/ปี
  • ข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 จำนวน 2 ครั้ง/ปี

ถาม: ประกาศผลการสอบหลังจากวันสอบกี่วัน สามารถตรวจสอบผลการสอบได้อย่างไร
ตอบ: ประกาศผลสอบผ่านทางเว็บไซต์สมาคมฯ (www.tfpa.or.th) ภายใน 30 วันทำการหลังจากวันสอบ


ถาม: การขอหนังสือรับผลการสอบ
ตอบ: ผู้สอบสามารถดาวน์โหลดหนังสือรับรองผลการสอบได้ในระบบสมาชิกเว็บไซต์สมาคมฯ  >ประวัติการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP> คอลัมภ์ผลการสอบ> คลิ๊กที่ผลการสอบ จะแสดงหนังสือรับรองผลการสอบ  


ถาม: สามารถร้องขอให้สมาคมฯ ตรวจข้อสอบใหม่ได้หรือไม่
ตอบ: ผู้สมัครสอบสามารถร้องขอให้สมาคมฯ ตรวจนับคะแนนในกระดาษคำตอบใหม่ด้วยวิธีตรวจด้วยมือ โดยจะต้องส่งคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรถึงสมาคมฯ ภายใน 30 วันทำการหลังจากได้รับหนังสือแจ้งผลการสอบ ระบุรายละเอียดดังนี้ ชื่อ-นามสกุลผู้สอบ ฉบับข้อสอบ วันที่เข้าสอบ เหตุผลประกอบคำร้อง พร้อมหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 3,000 บาท/ฉบับข้อสอบ

 


ถาม: การสอบข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 ข้อสอบแผนการเงิน มีรายละเอียดอย่างไร (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563)

  • ภาพรวมข้อสอบ
    ตอบ: เป็นข้อสอบประเภทอัตนัย โดยกำหนดกรณีศึกษา และมีคำถามที่เกี่ยวข้อง เพื่อวัดความรู้ และความสามารถในการเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูล อันนำไปสู่การให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงินที่เหมาะสม โดยมีทั้งกรณีศึกษาย่อยแยกเรื่อง และกรณีศึกษาใหญ่แบบองค์รวม

การสอบแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงเช้า 3 ช.ม. 30 นาที ระหว่างเวลา 9.00 – 12.30 น. และช่วงบ่าย 3 ช.ม. 30 นาที ระหว่างเวลา 14.00 – 17.30 น. ทั้งนี้ ข้อสอบทั้งสองช่วงเป็นอิสระต่อกัน สัดส่วนคะแนนของแต่ละช่วงเท่ากันคะแนนรวม 100 คะแนน โดยในแต่ละ กรณีศึกษา หรือแต่ละข้อจะมีคะแนนกำกับเพื่อให้ผู้สอบทราบ

 

  • ความครอบคลุม และสัดส่วนน้ำหนักข้อสอบแบ่งตามคะแนน
    ตอบ: เนื้อหา และสัดส่วนน้ำหนักข้อสอบมีดังนี้

ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน สัดส่วนน้ำหนักข้อสอบ 8 – 15 คะแนน

ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน สัดส่วนน้ำหนักข้อสอบ 15 – 25 คะแนน

ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนประกันภัย สัดส่วนน้ำหนักข้อสอบ 15 – 25 คะแนน

ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อการเกษียณ สัดส่วนน้ำหนักข้อสอบ 15 – 25 คะแนน

ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษี และมรดก สัดส่วนน้ำหนักข้อสอบ 15 – 25 คะแนน

ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน สัดส่วนน้ำหนักข้อสอบ 15 – 25 คะแนน

 

  • สมุดคำตอบ
    ตอบ: การตอบคำถามให้เขียนคำตอบในสมุดคำตอบ โดยให้เขียนเฉพาะในหน้าที่ หรือบริเวณที่กำหนดให้เท่านั้น คำตอบที่เขียนนอกเหนือบริเวณ หรือหน้าที่กำหนดจะไม่ถูกตรวจ และจะมีการพิมพ์ตารางสำหรับเขียนคำตอบมาให้ในสมุดคำตอบกรณีที่ต้องใช้ โดยในการเขียนคำตอบสามารถใช้ได้ทั้งปากกา และดินสอ ซึ่งกรณีของดินสอขอให้มีความเข้มพอ (2B) ที่จะทำสำเนาแล้วเห็นได้ชัดเจน
  • แนวทางการเขียนคำตอบ
    ตอบ: เขียนด้วยลายมือบรรจง อ่านง่าย สั้นกระชับ ตรงประเด็น ครอบคลุม และครบถ้วน เสมือนหนึ่งการเขียนให้กับผู้ขอรับคำปรึกษาที่ไม่มีความรู้ทางการเงินสามารถเข้าใจได้
  • การตอบคำถามเป็นภาษาอังกฤษ
    ตอบ: ผู้เข้าสอบสามารถตอบคำถามโดยเขียนในสมุดคำตอบเป็นภาษาอังกฤษได้ โดยสมาคมฯ ไม่ได้มีการแปลโจทย์เป็นภาษาอังกฤษให้เพิ่มเติมแต่อย่างใด ดังนั้นผู้เข้าสอบจำเป็นต้องมีความเข้าใจและอ่านโจทย์ภาษาไทยได้ 
  • การตอบคำถามที่ต้องอ้างอิงข้อกฎหมาย หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
    ตอบ: การตอบคำถามในข้อสอบประเด็นที่อ้างอิงถึงกฎหมาย หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น ในส่วนของภาษี มรดก และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเกษียณ ต้องอ้างอิงกฎหมาย หรือกฎระเบียบที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน
  • สิ่งของที่สามารถนำเข้าห้องสอบได้
    ตอบ: ให้เป็นไปตามนโยบายการสอบของสมาคมฯ และเพิ่มเติมรายการ หนังสือ สมุดจดเรียนส่วนตัวของผู้สอบ (สมุด lecture) แต่ไม่อนุญาตให้จดข้อมูลข้อสอบทั้งในส่วนของสมุดคำถาม สมุดคำตอบ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่มีออกจากห้องสอบ หากตรวจพบจะถือว่ามีเจตนาทุจริตถูกปรับตก และดำเนินการตามนโยบายการสอบของสมาคมฯ
  • การตรวจข้อสอบข้อเขียน
    ตอบ: ข้อสอบแต่ละฉบับจะมีกรรมการตรวจให้คะแนนอย่างน้อย 2 ท่าน โดยตรวจตามประเด็นการให้คะแนนที่อ้างอิงกับคำถามในข้อสอบ
  • เกณฑ์การผลสอบ “ผ่าน” ข้อสอบข้อเขียน
    ตอบ: เกณฑ์การสอบผ่านข้อสอบข้อเขียนมีรายละเอียด ดังนี้
    • คะแนนของกรรมการตรวจข้อสอบ 2 ท่าน ต้องมากกว่าเท่ากับร้อยละ 70
    • กรณีที่คะแนนของกรรมการตรวจข้อสอบ 1 ใน 2 ท่าน น้อยกว่าร้อยละ 70 ให้มีกรรมการท่านที่ 3 และคะแนนของกรรมการตรวจข้อสอบท่านที่ 3 ต้องมากกว่าเท่ากับร้อยละ 70
  • การสอบสัมภาษณ์
    ตอบ: ผู้มีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์ต้องมีผลสอบ “ผ่าน” ของการสอบข้อเขียน โดยในวันสัมภาษณ์ผู้สอบต้องนำ CV หรือ Resume ของผู้สอบเสนอกรรมการในวันสอบสัมภาษณ์ ซึ่งจะมีกรรมการสอบสัมภาษณ์จำนวน 2 ท่าน ระยะเวลาการสัมภาษณ์ 20 นาที/ราย ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการสอบสัมภาษณ์ เพื่อประเมินทักษะด้านการสื่อสาร สร้างการมีส่วนร่วมในวิชาชีพ โดยขอบเขตการสัมภาษณ์ ครอบคลุม ทัศนคติ ความเห็น จรรยาบรรณ และประสบการณ์การทำงาน กรณีที่สอบสัมภาษณ์รอบแรกไม่ผ่าน สมาคมฯ จะจัดให้มีการสอบสัมภาษณ์รอบสอง โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน
  • เกณฑ์การสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 ข้อสอบแผนการเงิน
    ตอบ: ต้องมีผลสอบ “ผ่าน” ทั้ง การสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ ของการสอบในครั้งเดียวกัน เนื่องจากการสอบทั้งสองส่วนไม่เป็นอิสระต่อกัน
  • ตัวอย่างข้อสอบเก่า ข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 ข้อสอบแผนการเงิน
  1. ฝึกฝนการทำโจทย์ ข้อสอบเก่าชุดที่ 1 (วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2561) 
  2. ฝึกฝนการทำโจทย์ ข้อสอบเก่าชุดที่ 2 (วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2562)  
  3. ฝึกฝนการทำโจทย์ ข้อสอบเก่าชุดที่ 3 (วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2562) 
  • การประชุมชี้แจงการสอบข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 ข้อสอบแผนการเงิน
  1. ครั้งที่ 1 การเปลี่ยนรูปแบบการสอบเป็นข้อสอบอัตนัย การประชุมเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 61 รับชมได้ผ่านทาง https://bit.ly/3rEuqK1
  2. ครั้งที่ 2 การเพิ่มเวลาการทำข้อสอบเป็นภาคละ 3 ชั่วโมง 30 นาที  ข้อสอบภาคเช้าเริ่ม 09.00 - 12.30 น. และข้อสอบภาคบ่ายเริ่ม 14.00 - 17.30 น.  การประชุมเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 63 รับชมได้ผ่านทาง https://bit.ly/3kNbqom  

ขอบคุณที่มาจาก www.tfpa.or.th

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA