สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
มาดูอาชีพที่มีโอกาสเติมโต มากกว่าทุกสาขาอาชีพ ถึง 3 เท่า
 
ThaiPFA เปิดประตูสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงิน อาชีพที่มาแรงหลังโควิด
 


ThaiPFA ชวนคุณให้มาทำความรู้จักวิชาชีพนักวางแผนการเงิน รวมทั้งใบอนุญาตและคุณวุฒิวิชาชีพทางการเงินต่างๆที่จะทำให้คุณเป็นนักวางแผนการเงินมืออาชีพมาตรฐานสากลที่โดดเด่น ผ่านคำแนะนำของ ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล CFP ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรรมการสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP

ทุกวันนี้ปัญหาเศรษฐกิจเรื่องปากท้องถือได้ว่าเป็นประเด็นที่ประชาชนทั่วไปรู้สึกเดือดร้อนแสนสาหัส
วิกฤตทางการเงินที่กำลังกระทบคนไทยเห็นได้ชัดจากดัชนีบ่งชี้ต่างๆ อาทิ
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี 2564 พบว่า ประเทศไทยมีระดับหนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงเป็นอันดับที่ 12 จาก 70 ประเทศทั่วโลก และสูงเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียรองจากประเทศเกาหลีใต้ 
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังพบอีกว่า หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น จาก 134,900 บาท ในปี 2554 เป็น 205,679 บาท ในปี 2564
ระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงนี้สำหรับบางคนอาจกล่าวได้ว่า ต้องทำงานหาเงินใช้หนี้จนเกษียณกันเลยทีเดียว
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อชดใช้หนี้สินหมดแล้วหลังเกษียณคนไทยจะสุขสบาย 
เพราะเรายังมีปัญหาสังคมที่ตามมาอีก เนื่องจากประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และกำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์อีกไม่นาน 
ทั้งนี้องค์การสหประชาชาติ ได้นิยามระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ของประชากรทั้งประเทศ ในขณะที่ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึง มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% หรือมีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ
ในปี 2565 ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ 12,116,119 คน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ 66,165,261 คน คิดเป็นสัดส่วน 18.3%
นอกจากผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนของประชากรที่เพิ่มขึ้นเรื่อย อายุขัยของคนไทยก็ยังเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน 
ทั้งนี้ข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2565 พบว่า อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดคนไทย เพศชายอยู่ที่ 73.6 ปี ในขณะที่เพศหญิงอยู่ที่ 80.7 ปี
ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และวิกฤตความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ ส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยหลังเกษียณน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวตามลำพังในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจากร้อยละ 3.6 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 12.0 ในปี 2564 ส่งผลทำให้ในปี 2564 ร้อยละ 19.2 ของผู้สูงอายุมีรายได้หลักจากเบี้ยยังชีพจากทางราชการเดือนละไม่กี่ร้อยบาท 
วิกฤตเศรษฐกิจ สังคม และภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อคุณภาพการดำรงชีวิตของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ทางออกของปัญหาดังกล่าวจึงต้องอาศัยทักษะทางการเงินในการทำให้ชีวิตมีความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน
อย่างไรก็ตามผลสำรวจระดับทักษะการเงินของคนไทย โดยธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งร่วมมือกับ OECD พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ทางการเงินของคนไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของผลสำรวจอีก 26 ประเทศที่เข้าร่วมโครงการสำรวจกับ OECD ในขณะที่คนไทยมีปัญหาเงินไม่พอใช้สูงกว่าค่าเฉลี่ย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากโครงการสำรวจดังกล่าว บ่งชี้ว่าคนไทยควรมีการพัฒนาความรู้ทางการเงินเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากทบต้น การกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และมูลค่าเงินตามเวลา
ผม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล ในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เชื่อว่า หลักสูตรนี้จะช่วยทำให้บุคคลมีทักษะทางการเงินและมีอิสรภาพทางการเงิน และยังสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นนักวางแผนการเงินมืออาชีพมาตรฐานสากลซึ่งจะเป็นอีกฟันเฟืองร่วมกันทำให้คนไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตทางการเงินมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน

นักวางแผนการเงินมีบทบาทสำคัญในการประเมิน ปรับปรุงสุขภาพการเงิน และบริหารทรัพยากรเงินให้ผู้รับคำปรึกษาบรรลุเป้าหมาย มีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น มีความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน

นักวางแผนการเงิน CFP ต้องผ่านกระบวนการ 4Es

   การอบรม (Education) 
- ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ 
- ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน 
- ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย 
- ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ 
- ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก 
- ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน   
   การทดสอบ (Examination) 
- ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ 
- ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน 
- ฉบับที่ 3 การวางแผนประกันภัยและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ 
- ฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1 การวางแผนภาษีและมรดก 
- ฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 การจัดทำแผนการเงิน   
   ประสบการณ์ (Experience) เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงิน 3 ปี
   จรรยาบรรณ (Ethics) ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน


ที่ปรึกษาการเงิน AFPT ต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 และ 2 และผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 และ 2 หรือ ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1, 3 และ 4 และผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 และ 3
ผู้ที่ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 และ 2 (หลักสูตรปรับปรุง) และผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 และ 2 (หลักสูตรปรับปรุง) สามารถขึ้นทะเบียนใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC และผู้วางแผนการลงทุน IP โดยไม่จำเป็นต้องวุฒิการศึกษาปริญญาตรี

หน้าที่ของใบอนุญาตทางการเงิน CFP
ทำยังไงถึงจะได้เป็นนักวางแผนการเงิน CFP
ทำยังไงจะได้เป็น ผู้วางแผนการลงทุน IP IC


ThaiPFA เชื่อว่าผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ภายใต้การอำนวยการอบรมโดย ThaiPFA ซึ่งได้รวบรวมวิทยากรระดับประเทศมาอธิบายแนวคิดและแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการวางแผนการเงินจะสามารถทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะทางการเงินในการวางแผนการเงินและเป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมการเงินของประเทศไทยที่จะร่วมกันทำให้คนไทยมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น

คลิ๊กดูปฏิทินการอบรมและสมัครอบรมได้ที่
https://www.thaipfa.co.th/
ติดต่อสอบถามได้ที่
Line ID: @thaipfa
Tel: 082-701-7077, 086-666-0090, 087-063-3306
#วางแผนการเงินCFP #อบรมCFP #สอบCFP #ติวCFP #ผู้แนะนำการลงทุน #ผู้วางแผนการลงทุน #ที่ปรึกษาการเงิน #นักวางแผนการเงิน #CFP #AFPT #IP #IC

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA