สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
เส้นทางอาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
 


เส้นทางอาชีพนักวางแผนการเงิน CFP

คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1972 ปัจจุบัน คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตราฐานสูงสุดด้านการวางแผนการเงินในระดับสากล สมาคมนักวางแผนการเงินไทยเป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการโครงการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ในประเทศไทยตามข้อตกลงกับ Financial Planning Standards Board Ltd. (FPSB) โดยสมาคมฯ จะอนุญาตให้เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP เท่านั้น มีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ซึ่งได้แก่ CFP, CERTIFIED FINANCAIL PLANNING และ CFP
 
สัญลักษณ์แห่งความเป็นเลิศด้านการวางแผนการเงินในระดับสากล

เส้นทางอาชีพนักวางแผนการเงิน CFP

- แคนาดา   - สหรัฐอเมริกา  - โคลอมเบีย  - บราซิล  - ตุรกี  - เนเธอร์แลนด์  - ฝรั่งเศษ  - เยอรมณี  - สวิตเซอร์แลนด์   - ออสเตรีย  - อังกฤษ  - อิสราเอล  - ไอร์แลนด์  - แอฟิกาใต้  - นิวซีแลนด์  - ออสเตรเลีย  - เกาหลีใต้  - จีน  - ญี่ปุ่น  - ไต้หวัน  - ไทย  - มาเลเซีย  - สิงคโปร์  - อินเดีย  - อินโดนีเซีย  - ฮ่องกง
 

ในสภาวการณ์ปัจจุบันที่ความมั่นคั่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างต้องการคำปรึกษาด้านการวางแผนการเงินส่วนบุคคลจากนักวางแผนการเงินที่มีความรู้ความสามารถและยึดมั่นในจรรยาบรรณ ทำให้ความต้องการใช้บริการจากนักวางแผนการเงินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 

คุณสมบัติของนักวางแผนการเงิน CFP ต้องมี  เรียกง่ายๆ คือ 4E


คุณสมบัติ นักวางแผนการเงิน CFP


การศึกษา (Education)

ผู้ขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องผ่านการอบรมเพื่อให้มีความรู้ และทักษะด้านการวางแผนการเงินจากสถาบันอบรมของสมาคมฯ การอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยการอบรม 6 ชุดวิชา ได้แก่
ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน
ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย
ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก
ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน

           ทั้งนี้ ผู้มีคุณวุฒิการศึกษาหรือคุณวุฒิวิชาชะในสาขาวิชาที่เกียวข้องโดยตรงกับเนื้อหาการอบรม สามารถยื่นขอยกเว้นการอบรมในชุดวิชาที่เกี่ยวข้องผ่านการเทียบเคียงพื้นฐานความรู้ (Transcript Review) หรือข้อยกเว้นการอบรมในทุกชุดวิชาผ่านการขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม (Challenge Status)
  
การเทียบเคียงพื้นฐานความรู้ (Transcript Review)
-  ผ่านการเรียนและสอบในระดับปริญญาตรี หรือโทวิชาบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) ภาษีพื้นฐาน (Taxation) และมูลค่าเงินตามกาลเวลา (Time Value Of Money) ได้รับการยกเว้นอบรม ชุดวิชาที่ 1
 
-  วิชาการลงทุน (Investment) และการวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analysis) หรือ มีใบอนุญาตที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Consultant) ผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) หรือที่ปรึกษาการเงิน (Financial Advisor – FA) ได้รับการยกเว้นอบรม ชุดวิชาที่ 2
 
-  วิชาประกันภัย (Insurance)  หรือ มีใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัยชีวิต ได้รับการยกเว้นอบรม ชุดวิชาที่ 3
 
การขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม (Challenge Status)
มีคุณวุฒิการศึกษา จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกสารอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงาน
ก.พ. ในสาขาวิชาการเงิน บริหารธุรกิจ บัญชีหรือเศรษฐศาสตร์
หรือ มีคุณวุฒิวิชาชีพ  
  • Certified Public Accountant (CPA) หรือ
  • Chartered Financial Analyst (CFA (Level 3) หรือ
  • CISA (Level 3)
 

การสอบ (Examination)

              ผู้ขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT  จะต้องสอบผ่านหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP เพื่อวัดความรู้ และประเมิณความสามารถในการนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้สำหรับการให้คำปรึกษาและจัดการทำแผนการเงินในสถาณการณ์จริงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับคำปรึกษา  การสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยข้อสอบ 4 ฉบับ ได้แก่
 
ข้อสอบฉบับที่ จะสมัครสอบได้ต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่
1. พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ 1. พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ  
2. การวางแผนการลงทุน 2. การวางแผนการลงทุน
3. การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ 3. การวางแผนการประกันภัย และ
4. การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
4. การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน
5. การวางแผนภาษีและมรดก และ
6. การจัดทำแผนการเงิน

  

ประสบการณ์การทำงาน (Experience)

           ผู้ขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักงานแผนการเงิน CFP จะต้องมีประสบการณ์การทำงานในด้านการสอน* หรือในอุตสาหกรรมการเงิน** ซึ่งครอบคลุม  “หลักปฏิบัติด้านการวางแผนการเงิน” อย่างน้อย 1 ด้านหรือมากกว่า เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 ปี
หลักการปฏิบัติการวางแผนการเงิน
  • การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและกำหนดขอบเขตของข้อผูกผัน
  • การรวบรวมข้อมูลของลูกค้า
  • การวิเคราะห์และประเมินสถานะทางการเงินของลูกค้า
  • การจัดทำและนำเสนอแผนการเงิน
  • การนำแผนการเงินไปปฏิบัติ
  • การทบทวนและปรับแผนการเงินตามสถาณการณ์อย่างสม่ำเสมอ
*ประสบการณ์การสอนหลักสูตรการเงินในระดับมหาวิทยาลัยสามารถนับได้สูงสุด 2 ปี โดยอีก 1 ปี ต้องเป็นประสบการณ์การทำงานเกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงินโดยตรง หรือประสบการณ์การสอนหลักสูตรวางแผนการเงินที่ สมาคมฯ ให้ความเห็นชอบ
** สำนักงานบัญชี สำนักงานกฏหมาย สถาบันการเงิน บริษัทที่ให้บริการวางแผนการเงินหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการเงินส่วนบุคคล บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการลงทุน และหน่วยงานกำกับดูแล
 

จรรยาบรรณ (Ethics)

                   นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องตกลงที่จะยึดถือและปฏิบัติตาม “จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน” ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบที่นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT พึงปฏิบัติต่อสาธารณชน ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และนายจ้างเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อวิชาชีพนักวางแผนการเงิน
 
 

คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
สัญลักษณ์แห่งความเป็นเลิศด้านการวางแผนการเงินในระดับสากล

         ผู้ประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมการเงินทั่วโลกมุ่งมั่นที่จะได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์แห่งความโดดเด่นด้านวิชาชีพการวางแผนการเงินที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อสร้างความแตกต่างจากผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินทั่วไป
 
นักวางแผนการเงิน CFP
           นักวางแผนการเงิน CFP เป็นผู้มีความสามารถและทักษะในการให้คำปรึกษาการวางแผนการเงินส่วนบุคคลแบบองค์รวมที่ครอบคลุมการวางแผนการบริหารกระแสเงินสด การวางแผนการลงทุน การวางแผนประกันชีวิต การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ และการวางแผนภาษีและมรดก รวมถึงการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ เพื่อช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาบรรลุเป้าหมายทางการเงินและชีวิต
 
เป้าหมายทางการเงินส่วนบุคคล
การบริหารกระแสเงินสด
การลงทุน
ภาษีและมรดก
การเกษียณอายุ
การประกันชีวิต
           นักวางแผนการเงิน CFP จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP (คุณสมบัติ 4E) ได้แก่ ผ่านการอบรม (Education) ผ่านการสอบ (Examination) มีประสบการณ์การทำงาน (Experience) และปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน (Ethics) ทั้งนี้ ภายหลังที่ได้รับการรับรองตามเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพแล้ว นักวางแผนการเงิน CFP จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพและเกณฑ์การพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
การศึกษา Education
ผ่านการอบรม ชุดวิชาที่ 1-6 (40 ชม./ชุดวิชา)
  • อบรมในห้องเรียน (24 ชม.)
  • การศึกษาด้วยตนเอง (16 ชม.)
การสอบ Examination
สอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1-4
ประสบการณ์การทำงาน Experience
มีประสบกาณ์การทำงานอย่างน้อย 3 ปี
จรรยาบรรณ Ethics
ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
 
เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP
เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ได้แก่ CFP, CERTIFIED FINANCIAL PALNNER และ CFP ที่ใช้ภายนอกประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นลิทขสิทธิ์ของ Financial Planning Standards Board Ltd (FPSB) สมาคมนักวางแผนทางการเงินไทยเป็นหน่วยงานที่ได้รับการอนุญาตให้บริหารจัดการโครงสร้างรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ในประเทศไทย ตามข้อตกลงกับ FPSB บุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับรองคุณวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ที่สมาคมฯ กำหนดเท่านั้น จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าว
 
คุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT
              คุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT เป็นคุณวุฒิวาชาชีพที่เป็นที่รู้จกและใช้ภายในประเทศไทย ผู้ที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT สามารถพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถผ่านการอบรมและการสอบเพิ่มเติมเพื่อก้าวไปสู่เป็นนักวางแผนการเงิน CFP
 
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT 
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่ให้คำปรึกษาเฉพาะด้านการวางแผนการลงทุน หรือด้านการวางแผนประกันชีวิตและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
 
การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT
ด้านการลงทุน
การศึกษา Education
ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 และ 2 (40 ชม./ชุดวิชา)
  • อบรมในห้องเรียน (24 ชม.)
  • ศึกษาด้วยตัวเอง (16 ชม.)
การสอบ Examination 
สอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1และ 2
จรรยาบรรณ Ethics
ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
 
ด้านการประกันชีวิต
การศึกษา Education
ผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1,3 และ 4 (40 ชม./ชุดวิชา)
  • อบรมในห้องเรียน (24 ชม.)
  • ศึกษาด้วยตนเอง (16 ชม.)
การสอบ Examination
สอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 และ 3
จรรยาบรรณ Ethics
ปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน
 
 

การพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ

           นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่ต้องพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อพัฒนาการทางวิชาชีพการวางแผนการเงินและกฎระเบียบที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และต้องต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพทุก 2 ปีปฏิทิน เพื่อสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT ทั้งนี้ สำหรับนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT  ที่ยื่นขอรับรองคุณวุฒิวิชาชีพครั้งแรก ให้เริ่มต้นนับระยะเวลาสำหรับการยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ ตั้งแต่เดือนมกราคมของปีปฏิทินถัดไป
           ในการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์พัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Continuing Professional Development – CPD) โดยต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อ 2 ปี และต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD  ที่มาจากกิจกรรม “การอบรมหรือสัมมนา” อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนชั่วโมง CPD ที่กำหนด และเป็นการอบรมหรือสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน และ/หรือหลักปฏิบัติการวางแผนการเงินที่จัดโดนสมาคมฯ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง

 

ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล


Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA)

Website: www.thaipfa.co.th  , www.thaipfaonline.com , www.allaboutfin.com
Social network: www.facebook.com/thaipfa
LINE: @thaipfa
Mobile: 086-666-0090 , 087-063-3306 ,082-701-7077

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA