สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สำรวจความพร้อมก่อนก่อหนี้ใหม่สำหรับว่าที่ลูกหนี้ในยุคดอกเบี้ยขาขึ้น
 
ยุคดอกเบี้ยขาขึ้น จะส่งผลทำให้การเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงๆ
อย่างเช่น ที่อยู่อาศัยยากขึ้นหรือไม่
เราควรต้องตัดสินใจอย่างไรก่อนก่อหนี้ก้อนใหม่
 


แน่นอนว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น การตัดสินใจเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงๆ
ที่ไม่สามารถใช้เงินออมหรือเงินเก็บที่มีอยู่ไปซื้อได้ทันที
แต่จำเป็นต้องมีการขอสินเชื่อหรือมีการกู้ยืม คงเป็นไปได้ยากขึ้น
เพราะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลทำให้ผู้กู้หรือลูกหนี้ต้องมีภาระในการผ่อนชำระคืนในแต่ละงวดเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มสูงมากขึ้น
ส่งผลทำให้ผู้กู้หรือลูกหนี้อาจไม่มีความสามารถในการชำระคืนเงินกู้
หรืออาจส่งผลทำให้ผู้กู้หรือลูกหนี้ต้องมีระยะเวลาในการชำระคืนที่ยาวนานขึ้น
ในบางกรณีอาจส่งผลทำให้ระยะเวลาการผ่อนชำระคืนกินเวลาไปจนถึงช่วงหลังเกษียณ
ส่งผลทำให้สถาบันการเงินอาจไม่อนุมัติสินเชื่อให้กับผู้กู้ในกรณีดังกล่าว
แต่จริงๆแล้วไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงหรือต่ำการตัดสินใจก่อหนี้ใหม่
ผู้กู้ก็ควรจะต้องคิดให้ดีๆใน 2 มิติต่อไปนี้
ก็คือวัตถุประสงค์ของการก่อหนี้และความสามารถในการชำระคืนหนี้ในอนาคต
ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจไปเป็นลูกหนี้ของใคร
เราอาจต้องทำการตรวจสอบวัตถุประสงค์ของการก่อหนี้ใหม่ดังกล่าวนั้นว่าเป็นการกู้ยืมสำหรับสิ่งที่จำเป็นจริงๆหรือไม่
นอกจากนั้นอาจต้องพิจารณาว่าการก่อหนี้ใหม่ดังกล่าวแล้วในอนาคตจะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าวัตถุประสงค์ของการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนในปี 2564
เกือบ 38% เป็นไปเพื่อการอุปโภคบริโภค ในขณะที่ 36% เป็นการกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านซื้อที่ดิน
ประมาณ 25% เป็นการกู้ยืมเพื่อใช้ในการลงทุน ในขณะที่เหลือ 1% เป็นการกู้ยืมเพื่อการศึกษา ดังนั้นการก่อหนี้ที่เป็นสัดส่วนสูงที่สุดเพื่อการอุปโภคบริโภคนั้น
ผู้กู้คงต้องสอบถามตัวเองก่อนเสมอว่าเป็นการอุปโภคบริโภคที่จำเป็นหรือเพียงแค่ตอบสนองความต้องการเท่านั้น
นอกจากนั้นแล้วก่อนที่จะก่อหนี้ใหม่เพื่อใช้จ่ายในปัจจุบันจากเงินหรือรายได้ที่ต้องชำระคืนในอนาคต
ผู้กู้ยืมก็คงต้องสำรวจความสามารถในการชำระคืนหนี้ในอนาคตด้วย
ทั้งนี้เริ่มต้นอาจพิจารณาตั้งแต่ระดับของหนี้สินที่ไม่ควรเกินกว่าครึ่งหนึ่งของทรัพย์สิน
เพราะทรัพย์สินที่เราหามาได้ควรจะได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของเราจริงๆมากกว่าที่จะไปกู้ยืมมา
อย่างไรก็ตามการชำระคืนหนี้สินควรเกิดขึ้นจากความสามารถในการหารายได้ในอนาคตแล้วแบ่งมาชำระคืนเงินกู้
ดังนั้นเงินที่นำไปชำระคืนหนี้สินในแต่ละเดือนก็ไม่ควรเกินกว่า 35% ถึง 45% ของรายได้
แต่จริงๆแล้วก่อนที่จะทำการกู้ยืม
ผู้กู้ควรต้องสำรวจรายได้รายจ่ายของตัวเองในอนาคตให้มั่นใจว่ารายได้ในอนาคตหักออกด้วยรายจ่ายตามปกติในชีวิตแล้ว
จะมีเงินเหลือเพียงพอที่จะชำระคืนหนี้สินในแต่ละงวด
นอกจากนั้นก็ยังต้องวิเคราะห์ถึงความมั่นคงของหน้าที่การงานว่ารายได้จะมีความมั่นคงสม่ำเสมอเพียงพอที่จะชำระคืนหนี้ที่กู้ยืมได้จนตลอดอายุของสัญญา

www.thaipfa.co.th

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA