สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
รู้มั้ย ? ทำไมเราต้องวางแผนเกษียณกันตั้งแต่วันนี้ ??
 

รู้มั้ยทำไมเราต้องวางแผนเกษียณกันตั้งแต่วันนี้



ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล CFP®
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 และ กรรมการสมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ในวันวานที่เรายังเป็นเด็กๆอาจรู้สึกอยากให้เวลาหมุนเร็วขึ้น เพื่อจะได้ก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ที่เด็ก ๆ มักคิดและวาดฝันว่าจะสามารถทำอะไรได้ดังใจ แต่เมื่อวันนี้ถ้าเราได้ก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ที่ต้องทำงานดูแลตนเอง หลายคนก็อาจรู้สึกอยากให้เวลาหมุนช้าลง เพื่อจะได้มีเวลาทำงานที่สุมอยู่เต็มโต๊ะได้มากและได้มีเวลาเหลือมากขึ้นให้อยู่ชื่นชมความสวยงามที่อาจจะบิดเบี้ยวไปบ้างของโลกใบนี้
แต่ในวันที่เราอาจเหลือวันพรุ่งนี้ไม่มากนัก และไม่เหลือความรับผิดชอบใดๆให้ต้องแบกหลังเกษียณ บางคนก็ยิ่งอยากให้เวลาหมุนยิ่งช้าลงเพื่อจะได้อยู่ดูความเติบโตของลูกหลานในครอบครัว แต่บางคนก็อาจอยากภาวนาให้เวลาของชีวิตหยุดลงทันที ถ้าไม่มีความสวยงามในชีวิตหลงเหลืออยู่ เนื่องจากสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน สุขภาพเงินทองที่เริ่มขัดสนจากรายได้ที่ลดลงหรือหายไปแต่รายจ่ายกลับเพิ่มขึ้น รวมไปถึงสุขภาพใจที่อาจซึมเศร้าเพราะขาดคนเหลียวแล
แต่สัจธรรมแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็เป็นความจริงที่เราทุกคนที่ยังไม่หลุดพ้นไปจากสังสารวัฎไม่สามารถหลีกเลี่ยงกันได้
หลายคนอาจคิดว่าการวางแผนเพื่อวัยเกษียณเป็นเรื่องของคนแก่ที่ใกล้จะเกษียณแล้วค่อยไปคิดกัน แต่ความจริงแล้ว ถ้ารอให้ถึงวันที่ใกล้จะเกษียณแล้วค่อยมาคิดวางแผนก็ต้องบอกว่าสายเกินไป เพราะการวางแผนเพื่อวัยเกษียณควรเริ่มต้นตั้งแต่วันที่เรายังเป็นหนุ่มเป็นสาวเริ่มต้นตั้งแต่วันที่เราทำงานมีรายได้เป็นของตนเอง
4
  1. เราอาจไม่สามารถดูแลตัวเองได้ดีหรือไม่ได้เลยเมื่อเกษียณ การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าในระหว่าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ์ ผู้สูงอายุประเมินว่าร่างกายโดยรวมมีภาวะสุขภาพดีมากร้อยละ 3.3 ภาวะสุขภาพดีร้อยละ 42.4 ภาวะสุขภาพปานกลางร้อยละ 38.3 ภาวะสุขภาพไม่ดีร้อยละ 13.9 และภาวะสุขภาพไม่ดีมากร้อยละ 2.1 ลองคิดดูว่าถ้าสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงต่อให้งานที่เราทำไม่มีการกำหนดอายุเกษียณ แต่สังขารก็คงไม่เอื้ออำนวยให้เราสามารถหารายได้เหมือนในช่วงก่อนเกษียณ
  2. เราอาจไม่มีลูกหลานดูแลหรือลูกหลานอาจไม่สามารถดูแลเรา ผลการสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร พ.ศ. 2558 – 2559 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า สถานภาพสมรสของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สมรส ร้อยละ 60.1 ในจำนวนนี้คิดเป็นร้อยละ 61.3 และ 58.9 ของประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไปเพศชายและหญิงตามลำดับ นั่นหมายความว่ามีคนไทยหลายๆคนที่ไม่ได้แต่งงานและอาจไม่มีลูกหลานมาดูแล ยิ่งไปกว่านั้นแล้วคนไทยหลายๆคนที่แต่งงานก็อาจมีลูกหลานที่ไม่สามารถดูแลพ่อแม่ได้ทัน เนื่องจากรายงานสุขภาพคนไทย 2559 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า ผู้ชายเจนวายโดยเฉลี่ยคิดที่จะแต่งงานเมื่ออายุ 29.3 ปี ในขณะที่ผู้หญิงเจนวายโดยเฉลี่ยคิดที่จะแต่งงานเมื่ออายุ 28.1 ปี ในขณะที่อายุเฉลี่ยแรกสมรสของผู้ชายเจนเอ็กซ์และเบบี้บูมเมอร์อยู่ที่ 27.2 และ 24.8 ปีตามลำดับ ส่วนอายุเฉลี่ยแรกสมรสของผู้หญิงเจนเอ็กซ์และเบบี้บูมเมอร์อยู่ที่ 24.0 และ 22.8 ปีตามลำดับ ข้อมูลดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่าในปัจจุบันคนไทยแต่งงานกันช้าลง และอาจทำให้คนไทยบางคนอาจยังต้องไปรับส่งลูกในวัยหลังเกษียณ
  3. เราอาจไม่มีคนอื่นมาดูแลเราให้ดีเท่ากับปัจจุบัน ไม่เชื่อลองดูสิครับว่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งไม่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเทศบาล อบต. แบบขั้นบันไดต่อไปนี้จะเพียงพอกับมาตรฐานการดำรงชีวิตในปัจจุบันของเราหรือไม่
    • อายุ 60 -69 ปี จะได้รับ 600 บาท
    • อายุ 70 -79 ปี จะได้รับ 700 บาท
    • อายุ 80 -89 ปี จะได้รับ 800 บาท
    • อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท
  4. เราอาจมีเวลาที่ต้องดูแลตัวเองหลังเกษียณยาวนานขึ้น เนื่องจากหลายคนอาจมีการเกษียณอายุก่อนกำหนด ไม่ว่าจะโดยตั้งใจจากการต้องการทำความฝันที่ขาดหายไปในห้วงเวลาที่สังขารยังเอื้ออำนวย หรือไม่ตั้งใจแต่ถูกบีบบังคับทางอ้อมให้สมัครใจออกจากงานก่อนกำหนดด้วยวลีสวยหรูว่า Early Retire นอกจากนั้นอายุขัยหลังเกษียณของคนไทยก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนใครต่อใครอาจคาดไม่ถึง ถ้าไม่เชื่อก็ลองดูอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบันในตารางต่อไปนี้ดูสิครับ
 
ข้อมูลอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยจากการสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติปี พ.ศ.2507-2549 และการคาดประมาณของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลปี พ.ศ.2554-2557
ปี พ.ศ. 2507 2517 2528 2532 2534 2538 2548 2556 2557 2560
ชาย 55.9 58 63.8 65.6 67.7 69.9 69.9 71.1 71.3 72
หญิง 62 63.8 68.9 70.9 72.4 74.9 77.6 78.1 78.2 78.8
 
 
ข้อมูลสนับสนุนมากมายขนาดนี้คงไม่ต้องบอกแล้วนะครับว่าทำไมใครๆก็ต้องวางแผนเกษียณ แต่ขั้นตอนการวางแผนเพื่อวัยเกษียณจะต้องทำอย่างไรบ้างคงต้องติดตามกันในบทความอื่นๆต่อไปครับ


www.thaipfa.co.th
ศูนย์อบรม ThaiPFA

 

 ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล

 


Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA)
ติดต่อ
      086-666-0090 , 082-701-7077 , 087-063-3306 

ขอบคุณทุกความไว้วางใจ ที่มีให้ ThaiPFA


#นักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลกับThaiPFA #เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลโดยThaiPFA #ThaiPFAศูนย์อบรมต้นแบบเพื่อความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน
E-mail: thaipfa@gmail.com
Website: www.thaipfa.co.th 
Social network: www.facebook.com/thaipfa
LINE: @thaipfa
Mobile: 086-666-0090 , 087-063-3306 ,082-701-7077

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA