สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
4 อาชีพสายการเงินนักวางแผนการเงิน CFP ที่ปรึกษาการเงิน AFPT ผู้วางแผนการลงทุน IP ผู้แนะนำการลงทุน IC อาชีพทั้ง 4 ต่างกันยังไง
 
เปิดประตูสู่ 4 วิชาชีพสายการเงินและการลงทุนที่เปิดกว้างให้กับทั้งผู้ที่จบการเงินโดยตรงและผู้ที่อาจไม่ได้เรียนจบมาทางสายการเงิน ไม่ว่าจะเป็น ผู้แนะนำการลงทุน IC ผู้วางแผนการลงทุน IP ที่ปรึกษาการเงิน AFPT และ นักวางแผนการเงิน CFP
 


หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า IC IP AFPT CFP กันมาหลายครั้ง แต่ยังสับสนอยู่ว่าตัวย่อที่เป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพทางการเงินเหล่านี้คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง มีขั้นตอนที่จะได้มาอย่างไร และได้มาแล้วจะรักษาไว้ได้อย่างไร วันนี้เรามาหาคำตอบกันครับ
เริ่มต้นเราต้องรู้จักความแตกต่างระหว่างคำว่าใบอนุญาตหรือที่เรียกกันว่า License กับ วุฒิวิชาชีพหรือที่เรียกกันว่า Certificate กันก่อนนะครับ ทั้งนี้คำว่าใบอนุญาตหรือ License นั้นก็แปลตามตัวอักษรเลยครับว่าเป็นเอกสารหรือหลักฐานที่ผู้มีอำนาจมอบหมายให้ผู้ใดผู้หนึ่งกระทำการใดๆ ซึ่งหากผู้ใดไม่ได้รับอนุญาตก็จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่นั้นๆหรือกระทำการนั้นๆได้ เช่น ถ้าไม่มีใบอนุญาต IC ก็ไม่สามารถแนะนำการลงทุนได้ หรือถ้าไม่มีใบอนุญาต IP ก็ไม่สามารถวางแผนการลงทุนได้ ในขณะที่คำว่าวุฒิวิชาชีพ หรือ Certificate จะเป็นหนังสือรับรองหรือใบรับรองที่ประกาศคุณสมบัติหรือรับรองความสามารถในด้านต่างๆที่ระบุ เพื่อทำให้บุคคลทั่วไปได้รู้ถึงคุณสมบัติหรือความสามารถที่แตกต่างของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ถ้าจะยกตัวอย่างใบรับรองที่หลายๆคนอาจจะคุ้นเคย ก็อย่างเช่น ดาวต่างๆที่สะท้อนถึงคุณภาพ รสชาติ และความคุ้มค่าของอาหารในแต่ละจานที่ได้รับการรับรองใน Michelin Guide ที่ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ใบอนุญาตในการประกอบอาหารที่ร้านอาหารจำเป็นต้องมี แต่รับรองได้ว่าถ้าร้านอาหารร้านไหนได้รับการรับรองจาก Michelin Guide แล้วล่ะก็ ยอดขายของร้านอาหารก็คงเพิ่มขึ้นอย่างที่เจ้าของร้านยิ้มแก้มไม่หุบเลยทีเดียวละครับ
เมื่อรู้ความแตกต่างระหว่างใบอนุญาตและวุฒิวิชาชีพกันแล้ว เรามาทำความรู้จักใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนหรือที่เรียกว่า IC กับใบอนุญาตผู้วางแผนการลงทุนหรือที่เรียกว่า IP กันครับ และมาทำความรู้จักวุฒิวิชาชีพ AFPT และ CFP กันครับ
เรามาเริ่มต้นทำความรู้จักใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน หรือ IC License และใบอนุญาตผู้วางแผนการลงทุน หรือ IP License และมาดูความแตกต่างของใบอนุญาตทั้งสองนี้กันนะครับ


ผู้แนะนำการลงทุน หรือ IC ย่อมาจากคำว่า Investment Consultant ซึ่งเป็นใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.มอบให้กับบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่แนะนำหรือชักชวนให้ผู้ลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ที่จะประสงค์จะทำหน้าที่ให้บริการดังกล่าวกับลูกค้า จะต้องได้รับความเห็นชอบเป็น IC จาก ก.ล.ต. และต้องได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่จากต้นสังกัดที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ธนาคาร หรือบริษัทประกันชีวิต ทั้งนี้การขอความเห็นชอบเป็น IC มีหลายประเภท ซึ่งจะต้องเลือกขออนุญาตประเภท IC ให้ตรงกับธุรกรรมที่ต้องการทำดังนี้

 
 
ประเภ
การให้ความเห็นชอบ
ประเภทธุรกรรมที่สามารถทำได้
แนะนำการลงทุน วางแผนการลงทุน
(Asset Allocation)
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความซับซ้อน ตราสารหนี้และกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีความซับซ้อน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป
(IC plain)
ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 3
(IC complex 3)
− 
ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 2
(IC complex 2)
ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1
(IC complex 1)
− 
 
 
การขอความเห็นชอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนแต่ละประเภทนั้นจะต้องมีผลสอบผ่านไม่เกิน 2 ปีในวันที่ยื่นคำขอในหลักสูตรต่างๆดังนี้

ผู้แนะนำการลงทุน IC ผู้วางแผนการลงทุน IP ที่ปรึกษาการเงิน AFPT และ นักวางแผนการเงิน CFP
 
หลายคนฟังมาถึงตรงนี้อาจสงสัยว่าตราสารหนี้และกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนคืออะไร ทั้งนี้ตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนได้แก่
  • ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้เกินกว่า 270 วันนับแต่วันที่ออกตราสารและมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
    1. มีข้อกำหนดให้ผู้ออกตราสารมีสิทธิ์ในการเลื่อนหรืองดการชำระหนี้ตามตราสาร หรือมีสิทธิ์ในการเลื่อนหรืองดการจ่ายดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนตามตราสาร
    2. มีข้อกำหนดให้ผู้ถือตราสารมีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้คืนจากผู้ออกตราสารด้อยกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ แต่ดีกว่าเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ถือหุ้นสามัญของผู้ออกตราสาร
  • ตราสารหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อมีการเลิกบริษัท (Perpetual Bond)
  • ตราสารหนี้ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment Grade Bond) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond)
  • หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ออกและเสนอขายหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง หรือตราสารอื่นที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
  • ตราสารด้อยสิทธิเพื่อนับเป็นเงินกองทุน
  • ตราสารหนี้ที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศซึ่งมีลักษณะหรือเงื่อนไขทำนองเดียวกับตราสารหนี้ตามข้อที่กล่าวมาดังกล่าวข้างต้น
  • กองทุนรวมที่เสนอขายต่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ
  • กองทุนรวมที่มีการลงทุนแบบซับซ้อน
  • กองทุนรวมที่จ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนโดยวิธีการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนให้ผันแปรไปตามสูตรการคำนวณหรือเงื่อนไขใดๆซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนทั่วไปไม่สามารถทำความเข้าใจได้โดยง่าย
  • กองทุนรวมที่มีมูลค่าการลงทุนสุทธิ (Net Exposure) ในสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ให้ผลตอบแทนอ้างอิงจากสินค้าโภคภัณฑ์นั้น
  • กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้เกินกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
  • หน่วยของโครงการจัดการลงทุนต่างประเทศที่ออกหรือเสนอขายในต่างประเทศซึ่งมีลักษณะหรือเงื่อนไขทำนองเดียวกับหน่วยลงทุนตามข้อที่กล่าวมาข้างต้น
ผู้ที่ขอความเห็นชอบเป็น IC ต้องมีคุณสมบัติจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและทดสอบผ่านหลักสูตรที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น โดยกรณีที่เป็นหลักสูตร paper ผลสอบต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปีในวันที่ยื่น

ส่วนผู้วางแผนการลงทุน หรือ IP ย่อมาจากคำว่า Investment Planner ซึ่งเป็นใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.มอบให้กับบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่ให้คำแนะนำการลงทุนแก่ผู้ลงทุนและสามารถวางแผนการลงทุนให้ลูกค้าได้ด้วย โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามาประกอบกับการวางแผนการลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งสอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และวัตถุประสงค์การลงทุนของลูกค้าแต่ละราย ดังนั้น IP จึงมีขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ที่สูงกว่า IC คำถามที่หลายคนอาจสงสัยตามมาว่า แล้วอยางนี้ถ้าเป็น IP แล้วจำเป็นต้องมาขอความเห็นชอบเป็น IC อีกหรือไม่ ทาง ก.ล.ต. ได้ชี้แจงว่า ไม่จำเป็น เนื่องจาก IP สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้สูงกว่า IC อยู่แล้ว

 
ประเภท
การให้ความเห็นชอบ
ประเภทธุรกรรมที่สามารถทำได้
แนะนำการลงทุน วางแผนการลงทุน
(Asset Allocation)
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความซับซ้อน ตราสารหนี้และกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีความซับซ้อน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ผู้วางแผนการลงทุน (IP)
 
 
หลักสูตรที่ต้องทดสอบเพื่อขอความเห็นชอบเป็น IP จะต้องรวมข้อสอบ CFP Paper 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี จรรยาบรรณ และข้อสอบ CFP Paper 2 การวางแผนการลงทุน
การให้ความเห็นชอบใบอนุญาตจะมีอายุ 2 ปีปฏิทิน โดยเริ่มนับปีที่ 1 ในปีถัดจากปีที่ได้รับความเห็นชอบ เช่น ได้รับความเห็นชอบเป็น IC เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564 ความเห็นชอบจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยการต่ออายุการให้ความเห็นชอบ
  • ต้องอบรมหลักสูตร refresher 15 ชั่วโมง ในรอบระยะเวลา 2 ปีปฏิทิน เช่น ถ้าการให้ความเห็นชอบสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2564 ต้องอบรมในช่วงปี 2563-2564  (โดยปกติ ข้อมูลการอบรมจะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของ ก.ล.ต. ในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่เข้ารับการอบรม เช่น อบรมเดือนกุมภาพันธ์ ข้อมูลจะเข้าระบบประมาณวันที่ 15 เดือนมีนาคม)
  • และทำการยื่นคำขอต่ออายุผ่านระบบ ORAP ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 15 ธันวาคม ของปีที่การให้ความเห็นชอบจะสิ้นสุด
  • และชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุ  1,070 บาท (รวม vat)

หลังจากที่เรารู้จักใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC และผู้วางแผนการลงทุน IP แล้วเราลองมาทำความรู้จักคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ กันต่อนะครับ

CFP กับ ThaiPFA

นักวางแผนการเงิน CFP (CERTIFIED FINANCIAL PLANNER) คือบุคคลที่มีความรู้และความสามารถผ่านการอบรมและสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ส่งผลทำให้มีคุณสมบัติในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินที่สามารถให้บริการวางแผนการเงินส่วนบุคคลได้อย่างรอบด้าน ครอบคลุมทั้งด้านพื้นฐานการวางแผนการเงิน ด้านการวางแผนการลงทุน ด้านการวางแผนการประกันภัย ด้านการวางแผนภาษีและมรดก ด้านการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ ตามมาตรฐานของคณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงิน (Financial Planning Standards Board Ltd. - FPSB) ซึ่งเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ โดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทยได้รับอนุญาตให้นำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ของประเทศไทย นอกจากนั้นแล้วนักวางแผนการเงิน CFP  ยังต้องเป็นผู้ที่มีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพอย่างเคร่งครัด นักวางแผนการเงิน CFPâ จึงมีความแตกต่างจากนักวางแผนการเงินทั่วไปและได้รับการยอมรับและความเชื่อถือจากทางลูกค้าและผู้ประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมการเงินของไทยและในระดับสากล
นักวางแผนการเงิน CFPâ  จึงมีบทบาทและหน้าที่ในการให้คำแนะนำและจัดทำแผนการเงินเฉพาะด้านหรือแบบบูรณาการที่ครอบคลุมทั้งแผนการประกันชีวิต แผนการลงทุน แผนเพื่อวัยเกษียณ และแผนภาษีและมรดก ภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่งคั่งและมีมาตรการในการคุ้มครองความมั่งคั่งที่เหมาะสมเพียงพอทำให้ลูกค้าสามารถบรรลุเป้าหมายการเงินตามต้องการ เช่นมีเงินทุนเพียงพอสำหรับเป้าหมายในอนาคตและมีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณอย่างมีความสุข
เส้นทางสู่คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP ต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า 4E's อันได้แก่ การอบรม (Education) การสอบ (Examination) ประสบการณ์การทำงาน (Experience) และมีจรรยาบรรณ (Ethics)


ทั้งนี้การอบรม (Education) นั้นต้องผ่านการอบรมเพื่อให้มีความรู้และทักษะด้านการวางแผนการเงินกับสถาบันอบรมที่ได้รับอนุญาต เช่นศูนย์อบรม ThaiPFA ทั้งนี้การอบรมจะแบ่งออกเป็น 6 ชุดวิชา (Module) ด้วยกันดังนี้
ทั้งนี้การอบรมสามารถอบรมชุดวิชาใดก่อนหลังก็ได้ แต่จะอบรมชุดวิชาที่ 6 ได้จะต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 ถึง 5 ก่อน อย่างไรก็ตามผู้ที่ยังไม่มีพื้นฐานทางการเงิน ไม่มีทักษะในการใช้เครื่องคิดเลขทางการเงินควรเริ่มต้นการอบรมชุดวิชาที่ 1 ก่อน เนื่องจากจะต้องใช้ทักษะในการคำนวณผ่านเครื่องคิดเลขทางการเงินในชุดวิชาอื่นๆด้วย
ส่วนการสอบ (Examination) นั้นจะเป็นการวัดความรู้และประเมินความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้สำหรับวางแผนการเงินเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเอื้อประโยชน์ต่อลูกค้า โดยเนื้อหาการสอบจะครอบคลุมทั้งในส่วนของกระบวนการ แนวคิด หลักการ การจัดทำและนำเสนอแผนการเงิน ซึ่งข้อสอบจะแบ่งออกเป็นฉบับ (Paper) ดังนี้
 

ทั้งนี้ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับการทดสอบข้อสอบฉบับใดก็จะต้องผ่านการอบรมเนื้อหาการอบรมชุดวิชาที่เกี่ยวข้องและชุดวิชาที่ 1 ทั้งนี้การสอบสามารถเลือกสอบฉบับที่ 1, 2 และ 3 ฉบับใดก่อนหลังก็ได้ แต่ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับการทดสอบข้อสอบฉบับที่ 4 จะต้องสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1, 2 และ 3 แล้ว
ประสบการณ์การทำงาน (Experience) กำหนดขึ้นตามมาตรฐานสากลเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพในการให้บริการวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทักษะเชิงปฏิบัติ จึงมีการกำหนดให้ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพต้องมีประสบการณ์การทำงานในวิชาชีพและสายงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางแผนการเงิน เช่น ด้านธนาคารพาณิชย์ ด้านหลักทรัพย์ ด้านหลักทรัพย์จัดการกองทุน ด้านประกันชีวิต ด้านบัญชี และด้านกฎหมายภาษี
จรรยาบรรณ (Ethics) ผู้ขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพ ผู้อยู่ระหว่างการอบรมและการสอบ รวมถึงผู้ที่อยู่ระหว่างกระบวนการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพจะต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณและความรับผิดชอบต่อวิชาชีพของนักวางแผนการเงินหรือที่ปรึกษาการเงินซึ่งครอบคลุมความผูกพันที่มีต่อสาธารณชน ลูกค้า และนายจ้าง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย

AFPT กับ ThaiPFA

ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ คือบุคคลที่สมาคมนักวางแผนการเงินไทยรับรองความสามารถในการให้บริการวางแผนหรือปรึกษาการเงินซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่
- ที่ปรึกษาการเงินด้านการลงทุน ต้องผ่านการอบรม และสอบผ่านด้านพื้นฐานการวางแผนการเงิน และด้านการวางแผนการลงทุน
- ที่ปรึกษาการเงินด้านการประกันชีวิตและวางแผนเพื่อวัยเกษียณ ต้องผ่านการอบรม และสอบผ่านด้านพื้นฐานการวางแผนการเงิน ด้านการวางแผนประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ
นอกจากนั้นแล้วที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ยังต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพอย่างเคร่งครัดเช่นกัน ในส่วนของที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จึงมีบทบาทและหน้าที่ในการให้คำแนะนำและคำปรึกษาเฉพาะด้านการลงทุนหรือด้านประกันชีวิตและการเกษียณอายุ อย่างไรก็ตามที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ สามารถก้าวขึ้นมาเป็นนักวางแผนการเงิน CFP  ได้เมื่อมีคุณสมบัติครบตามมาตรฐานที่กำหนด

ผู้ที่ได้รับการรับรองคุณภาพวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP  และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ต้องต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพทุกสองปีรวมถึงต้องมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องประกอบการยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ ทั้งนี้นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT มีหน้าที่ต้องพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อพัฒนาการทางวิชาชีพการวางแผนการเงิน และกฎระเบียบที่มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นักวางแผนการเงิน CFP และที่ปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องมีชั่วโมงของการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อ 2 ปี หรือตามสัดส่วนของจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Continuing Professional Development หรือCPD) ที่กำหนดสำหรับผู้ขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพรายใหม่ โดยจะต้องมีจำนวนชั่วโมง CPD ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน และ/หรือหลักปฏิบัติการวางแผนการเงิน อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อประกอบการยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพและเพื่อสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT ครับ

จากข้อมูลข้างต้น สามารถสรุปเป็นตารางสั่นๆได้ว่า
 
ประเภทของคุณวุฒิวิชาชีพและใบอนุญาต หน้าที่ที่รับผิดชอบ
คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP   -  รับรองมาตราฐานการวางแผนการเงิน  ที่สามารถวางแผนการเงินได้ แบบรอบด้าน ครอบคลุมการวางแผนการเงินทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน จาก คณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงิน (Financial Planning Standards Board Ltd. – FPSB) ประเทศ สหรัฐอเมริกา
คุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™   -  รับรองมาตรฐานการวางแผนการเงิน ตามสายงานที่ขึ้นทะเบียน ที่สามารถวางแผนการเงินได้ ภายใต้การดูแลของ นักวางแผนการเงิน CFP รับรองมาตรฐานโดย สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
ใบอนุญาตผู้วางแผนการลงทุน Investment Planner IP   - สามารถวางแผนการลงทุนโดยการกำหนดกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติการลงทุนด้วยการจัดพอร์ตการลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง ( การใช้ข้อมูลลูกค้าในเชิงลึกเกี่ยวกับสินทรัพย์ เป้าหมายการลลงทุนให้กับลูกค้าเฉพาะราย ) เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนตามเป้าหมายและตามวัตถุประสงค์ รับรองมาตรฐานโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์  Securities Investment Consultant  IC   - สามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนได้ เป็นรายตัวผลิตภัณฑ์  รับรองมาตรฐานโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กลต.
 
 


ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล

 


Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA)

ติดต่อ


      086-666-0090 , 082-701-7077 , 087-063-3306 
 

ขอบคุณทุกความไว้วางใจ ที่มีให้ ThaiPFA


#นักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลกับThaiPFA #เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลโดยThaiPFA #ThaiPFAศูนย์อบรมต้นแบบเพื่อความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน
E-mail: thaipfa@gmail.com
Website: www.thaipfa.co.th  , www.thaipfaonline.com , www.allaboutfin.com
Social network: www.facebook.com/thaipfa
LINE: @thaipfa
Mobile: 086-666-0090 , 087-063-3306 ,082-701-7077


 

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA