สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
ThaiESG SSF และ RMF เลือกลงทุนยังไง ? เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด
 

ThaiESG  SSF และ RMF เลือกลงทุนยังไง ? เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด 

ข้อสำคัญในการเลือกลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีระหว่าง TESG, SSF และ RMF
 

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน CFP ThaiPFA  คุณมีภาระเสียภาษีหรือไม่?

ก่อนตัดสินใจลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ตรวจสอบก่อนว่าคุณมีรายได้เกินเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือเปล่า ในปี 2567 หากรายได้ที่เป็นเงินเดือนต่ำกว่า 26,583 บาท/เดือน (หรือ 319,000 บาท/ปี) และมีเพียงสิทธิลดหย่อนประกันสังคม คุณอาจไม่ต้องเสียภาษี และการลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีอาจไม่คุ้มค่า แนะนำให้เลือกลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปแทน
ตัวเลขนี้คำนวณจากรายได้ประเภท 40(1),(2) หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท โดยเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษี
 

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน CFP ThaiPFA   เป้าหมายการลงทุนของคุณคืออะไร?

TESG : สำหรับเป้าหมายการใช้เงินในระยะสั้น (5 ปี)
SSF : เหมาะกับเป้าหมายระยะกลาง (10 ปี)
RMF : เหมาะสำหรับเป้าหมายเกษียณ โดยเฉพาะหากที่ทำงานไม่มี PVD หรือ กบข.
 

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน CFP ThaiPFA   ระยะเวลาการถือครองเป็นเงื่อนไขสำคัญ

TESG : ต้องถือครอง 5 ปี นับแบบวันชนวัน ปีชนปี
SSF : ต้องถือครอง 10 ปี นับแบบเดียวกัน
RMF : ต้องลงทุนตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และลงทุนอย่างน้อย 5 ปี โดยนับจากการลงทุนครั้งแรก
 

 วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน CFP ThaiPFA  ประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุน

TESG : จำกัดเฉพาะสินทรัพย์ในประเทศ เช่น หุ้นไทยหรือตราสารหนี้
SSF และ RMF : มีตัวเลือกหลากหลาย ทั้งสินทรัพย์ในประเทศและต่างประเทศ
 

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน CFP ThaiPFA   ความยืดหยุ่นในการลงทุนในอนาคต

TESG และ SSF : ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี แต่ปี 2567 เป็นปีสุดท้ายของสิทธิประโยชน์ SSF หากไม่มีการต่ออายุ
RMF : ต้องลงทุนต่อเนื่องปีเว้นปี แต่ยืดหยุ่นได้โดยไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน
 

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน CFP ThaiPFA   ต้องการรายได้ระหว่างการลงทุนหรือไม่?

TESG และ SSF : มีตัวเลือกกองทุนแบบปันผล
RMF : ไม่มีการจ่ายปันผล
 

วางแผนการเงิน การเงิน สอนการเงิน นักวางแผนการเงิน CFP ThaiPFA   เพดานสิทธิลดหย่อนภาษี

TESG: ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 300,000 บาท
SSF: ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
RMF: ลดหย่อนได้สูงสุด 30% ของรายได้ โดยรวมกับ SSF, ประกันบำนาญ, PVD และ กอช. แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

 

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

การลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีช่วยให้คุณได้วางแผนการเงินและลดภาระภาษี แต่ควรศึกษาเงื่อนไขให้ละเอียดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในอนาคต และอย่าลืมแจ้งความประสงค์กับ บลจ. เพื่อให้ข้อมูลไปยังกรมสรรพากรสำหรับใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้อง
วางแผนการเงินอย่างรอบคอบเพื่ออนาคตที่มั่นคง! 

www.thaipfa.co.th

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA