สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
วางแผนการเงินตามคำสอนของพ่อ
 

วางแผนการเงินตามคำสอนของพ่อ


 
 

โดย ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล CFP®

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 และ กรรมการสมาคมนักวางแผนการเงินไทย



 

 

     นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ 70 ปีที่แล้วเป็นต้นมา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยตลอดพระชนมายุของพระองค์ พระองค์ทรงงานเพื่อประชาชนอย่างหนักดังที่ได้ตั้งพระราชปณิธานตามพระปฐมบรมราชโองการในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระอัจฉริยภาพในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงินอย่างลึกซึ้ง พระองค์ทรงเคยมีพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่นักการเงินสามารถน้อมนำไปปฏิบัติเพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว

     พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสครั้งหนึ่งเนื่องในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ ศาลาดุสิดาลัย เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ให้เหมาะสมกับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ดังนี้ “เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาของเศรษฐกิจ การที่ต้องใช้รถไถต้องไปซื้อ เราต้องใช้ต้องหาเงินมาสำหรับซื้อน้ำมันสำหรับรถไถ เวลารถไถเก่าเราต้องยิ่งซ่อมแซม แต่เวลาใช้นั้นเราก็ต้องป้อนน้ำมันให้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันคายควัน ควันเราสูดเข้าไปแล้วก็ปวดหัว ส่วนควายเวลาเราใช้เราก็ต้องป้อนอาหาร ต้องให้หญ้าให้อาหารมันกิน แต่ว่ามันคายออกมา ที่มันคายออกมาก็เป็นปุ๋ย แล้วก็ใช้ได้สำหรับให้ที่ดินของเราไม่เสีย

พระองค์ทรงตรัสสอนให้คนไทยรู้จักลงทุนให้เหมาะสมกับอัตภาพตั้งแต่ก่อนที่ประเทศไทยจะพบกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง โดยทรงมีพระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙ ดังนี้ “ความจริงเคยพูดเสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ  สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน.  แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง.  อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง.  อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร.  บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก.  อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัย.  จริง อาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจ ที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจการค้า ไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา. แต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า ผลิตให้พอเพียงได้

     พระองค์ทรงตรัสสอนให้คนไทยรู้จักการลงทุนสร้างฐานะให้เหมาะกับอัตภาพดังพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น 18 ธันวาคม 2540 ดังนี้ “คนเราเมื่อมีความสามารถที่ดีเป็นทุนรอนอยู่ ก็จะไม่มีวันอับจน ย่อมหาทางสร้างตัวสร้างฐานะให้ก้าวหน้าได้เสมอ ข้อสำคัญในการสร้างตัวฐานะนั้น จะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไปด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ

ในปีเดียวกันนั้นเองพระองค์ก็ได้ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิตวันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2540 ดังนี้ “ต้องเล่านิทานอีกเรื่องหนึ่ง.  คือไปทางชลบุรีครั้งหนึ่ง นี่ก็หลายสิบปีมาแล้ว.  มีพ่อค้าคนหนึ่ง เขาบอกว่าเขาทำโรงงาน สำหรับทำสับปะรดกระป๋อง. เขาลงทุนเป็นล้าน จำไม่ได้แล้วกี่ล้าน เพื่อสร้างโรงงาน.  การลงทุนมากอย่างนั้น บอกให้เขาทราบว่าไม่ค่อยเห็นด้วย. เพราะว่าเคยทำโรงงานเล็กๆ ที่ทางภาคเหนือ ใช้เงินสามแสนบาท เพื่อที่จะเอาผลิตผลของชาวบ้านชาวเขามาใส่กระป๋องแล้วขาย ก็ได้ผเป็นโรงงานเล็กๆ. บอกว่าที่เขาลงทุนเป็นล้าน รู้สึกว่าเสี่ยง.  เขาบอกว่าต้องทำอย่างนั้น เขาก็ลงทุน. ทำไปทำมา สับปะรดที่อำเภอบ้านบึง ทางชลบุรี ก็มีไม่พอ.  เมื่อมีไม่พอต้องไปสั่งสับปะรดมาจากปราณบุรี.  สับปะรดจากปราณบุรีต้องขนส่งมา ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก.  ทำไปทำมาโรงงานก็ล้ม.  อย่างนี้ก็แสดงให้เห็นว่าทำโครงการอะไร ก็จะต้องนึกถึงขนาดที่เหมาะสมกับที่เรียกว่าอัตภาพ หรือกับสิ่งแวดล้อม

ประชาชนชาวไทยจึงควรจะสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ด้วยการแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณด้วยการน้อมนำพระราชดำรัสใส่เกล้าใส่กระหม่อม ดำรงตนให้อยู่ในความพอเพียงกับอัตภาพ เพื่อยังประโยชน์แก่ตนเองและประเทศชาติในที่สุด

 

www.thaipfa.co.th

ศูนย์อบรม ThaiPFA



 

 

 ThaiPFA ศูนย์อบรมต้นแบบ สู่เส้นทางคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP มืออาชีพมาตรฐานสากล

 

 

 



Thai Professional Finance Academy (ThaiPFA)

ติดต่อ

      086-666-0090 , 082-701-7077 , 087-063-3306 

 

ขอบคุณทุกความไว้วางใจ ที่มีให้ ThaiPFA

 



#นักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลกับThaiPFA #เส้นทางสู่วิชาชีพนักวางแผนการเงินCFPมาตรฐานสากลโดยThaiPFA #ThaiPFAศูนย์อบรมต้นแบบเพื่อความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน

E-mail: thaipfa@gmail.com

Website: www.thaipfa.co.th 

Social network: www.facebook.com/thaipfa

LINE: @thaipfa

Mobile: 086-666-0090 , 087-063-3306 ,082-701-7077


 

ThaiPFA NEWS

เรื่องราวดีๆ ที่อยากบอกเล่า พร้อมข่าวสารและสาระดีๆ ทางการเงิน

ผลงานที่ผ่านมา
portfolio
  • In-House Training, Public Training และบริษัทอื่นๆ...

ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม

หลากหลายความประทับใจ และ คำแนะนำให้อบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP
และหลักสูตรการเงินอื่นๆ กับ ThaiPFA